วัดราชบูรณะ ตามประวัติสืบเนื่องได้กล่าวว่าเมื่อปี พศ. 1952 สมเด็จพระนครินทราธิราช เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ โปรดเกล้า ฯ ให้พระราชโอรสทั้งสามพระองค์แยกเป็นครองเมืองต่างๆคือ
“เจ้าอ้ายพระยา” พระราชโอรสองค์โตครองเมืองสุพรรณบุรี
“เจ้ายี่พระยา” พระราชโอรสองค์รองครองเมืองแพรกศรีราชา ( อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท ในปัจจุบัน)
เจ้าสามพระยาพระราชโอรสองค์เล็กคลองเมืองพิษณุโลก
จนถึงปีพศ. 1967 สมเด็จพระนครินทราธิราชเสด็จสวรรนคต เมื่อเจ้าอ้ายพระยาและเจ้ายี่พระยาทรงทราบข่าวนี้ จึงยกทัพเข้ากรุงศรีอยุธยาเพื่อชิงราชสมบัติ เจ้าอ้ายพระยาตั้งทัพอยู่ที่ถนนป่ามะพร้าวใกล้กับวัดพลับพลาชัย ส่วนเจ้ายี่พระยาตั้งทัพอยู่ที่วัดชัยภูมิแล้วเคลื่อนทัพเข้าประจันบานกันตรงบริเวณเชิงสะพานป่าถ่าน ซึ่งอยู่กึ่งกลางระหว่างวัดมหาธาตุกับ วัดราชบูรณะ ทั้งสองพระองค์ต้องพระแสงของ้าวจนพระศอขาดสิ้นพระชนม์ไปพร้อมกัน
เจ้าสามพระยาจึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ทรงจัดการถวายพระเพลิงพระศพพระเชษฐาทั้ง 2 แล้วทรงอุทิศที่ถวายพระเพลิงสร้างเป็นพระอารามพระราชทานนามว่าวัดราชบูรณะ
วัดราชบูรณะ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวัดมหาธาตุ มีแผนผังเมืองกับวัดมหาธาตุทางเข้าวัดได้รับความเสียหายตั้งแต่ครั้งเสียกรุงสร้างที่เหลืออยู่แสดงให้เห็นว่าวัดนี้ใหญ่โตมาก ซึ่งภายในวัดมีสิ่งที่น่าสนใจประกอบไปด้วย
“ปรางค์ประธาน” เป็นศิลปะอยุธยาตอนต้นซึ่งนิยมสถาปัตยกรรมแบบขอม ที่ให้พระปรางค์เป็นประธานของวัด ปรางค์ประธานมีขนาดสูงใหญ่ก่อด้วยศิลาแลงบนฐานสี่เหลี่ยม มีฐานด้านละ 48 เมตร มีเจดีย์อยู่ทั้ง 4 ทิศ มีบันไดขึ้นสูงกลางทางด้านตะวันออก ช่องคูหาของพระปรางค์มีพระพุทธรูปยืนปูนปั้นประดิษฐานช่องละ 1 องค์
องค์ปรางค์ประดับด้วยปูนปั้นรูปครุฑ ยักษ์ เทวดา นาค ถือเป็นปรางค์แบบไทยเพราะทำฐานสูง
นอกจากนี้ด้านหน้าปรางค์เป็นมุกใหญ่ยื่นออกมาเป็นห้องคูหา ส่วนยอดเรียวแหลมสูงรูปแบบคล้ายฝักข้าวโพด ยอดมีฝักเพกาในขณะที่ของขอมไม่มี
อีกทั้งปรางค์ของขอมฝักเรียกว่า “ปราสาท” เพราะประดิษฐานเทวรูป ส่วนของไทยมักสร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุหรือพระพุทธรูป
องค์ปรางค์ประธานล้อมรอบด้วยระเบียงคดมีกำแพงแก้วล้อมรอบ (152 x 208.5 ม.)
วัดนี้มีพระวิหารที่ใหญ่โต (20 x 63 ม.)ตั้งอยู่ทางตะวันออก ด้านหน้ามีบันไดขึ้น 3 ทาง ที่ผนังเจาะเป็นบานหน้าต่าง ตามแบบศิลปะอยุธยาตอนกลาง ปัจจุบันยังปรากฏซากของเสาพระวิหารและฐานชุกชีพระประธานอยู่
ส่วนพระอุโบสถตั้งอยู่ทางตะวันตก ในแนวประธานเดียวกัน สิ่งก่อสร้างที่น่าสนใจอีกอย่างคือ “ซุ้มประตูใหญ่หน้าวัด” ซึ่งเป็นศิลปะอยุธยาตอนปลาย
เครดิตข้อมูล : หนังสือประวัติศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยวอยุธยา
โดยคุณ : กิตติ โล่ห์เพชรรัตน์