พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ บุคคลสำคัญของพม่าก่อนรุกรานไทย


บุคคลสำคัญของพม่าก่อนรุกรานไทย
พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้

พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ จากภาพยนต์สุริโยไท

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 นั้นแม้ว่าจะมาเสียในรัชสมัยที่พม่า
มีกษัตริย์เป็นพระเจ้าบุเรงนองแล้วก็ตามทีนั้น ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่า
บทบาทของกษัตริย์แห่งพม่าพระนามพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ ก็มีบทบาท
ที่ทำให้กรุงศรีอยุธยาเกิดความสั่นคลอนมาก่อนหน้าแล้วด้วย

ดังนั้นในที่นี้เราจึงน่าจะมาทำความรู้จักกับพระเจ้าตะเบงชะเวตี้กันเสียก่อน
พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้เป็นกษัตริย์พม่าในราชวงศ์ตองอู พระองค์ที่ 2
เป็นพระโอรสเพียงพระองค์เดียวของพระเจ้าเมงคยินโย
ซึ่งเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ตองอู

ตามมหาราชวงศ์พงศาวดารพม่าระบุว่า ประสูติเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ 2059
ที่เมืองตองอู ก่อนประสูติมีรางบอกเหตุปรากฏฝนตกลงมาที่ใดก็เกิดลุกเป็นไฟ
โหรหลวงทำนายว่าเป็นรางมงคล พระโอรสที่จะประสูติเป็นผู้มีบุญญาธิการ
ขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระราชบิดา ทั้งที่มีพระชนม์ไม่ถึง 20 พรรษา
มีพระนามว่าตะเบ็งชะเวที (ไทยเรียกเพี้ยนเป็นตะเบ็งชะเวตี้ พระนามมีความหมายแปลได้ว่าสุวรรณเอกฉัตร-ร่มทอง)
และภายหลังขึ้นครองราชย์พระนามได้เปลี่ยนเป็นมินตะยาชะเวที

พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ ได้สืบทอดแผนการของพระราชบิดานั่นคือการรวบรวมพม่า
ให้ขึ้นอยู่ภายใต้ผู้ปกครองเดียวกันพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งกษัตริย์
ที่ยิ่งใหญ่ของชาวพม่า กล่าวคือพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ขณะที่มีพระชนม์
เพียง 14 พรรษา พระองค์ประสูติเมื่อพ.ศ 2059

แท้จริงพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ทรงมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วพม่า ก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว
ทั้งนี้เพราะเล่าลือกันว่าในเวลาที่พระองค์ประสูตินั้นแม้จะเป็นเวลาค่อนรุ่ง
ซึ่งถือว่ายังค่ำมืดอยู่แต่ปรากฏว่าดาบและหอกในห้องสรรพพาวุธ
ของราชสำนักตองอูเวลานั้นต่างส่งประกายแวววาว อันชาวพม่าถือว่าเป็นนิมิตว่า
พระองค์จะเป็นนักรบผู้ยิ่งใหญ่อย่างเช่นเจ้าชายมังรายกยอชวาที่อังวะ
แปลด้วยความเชื่อมั่นจากพระบิดาว่าพระราชโอรสของพระองค์
จะทรงเป็นนักรบผู้ยิ่งใหญ่นี้เองจึงทรงขนาดพระนามพระราชโอรสของพระองค์
ว่าตะเบงชะเวตี้ หรือ สุวรรณเอกฉัตร

พงศาวดารของพม่า บันทึกเอาไว้ว่าก่อนที่พระองค์จะสวมมงกุฎกษัตริย์นั้น
ตามพระราชพิธีแล้วพระองค์จะต้องเข้าพิธีเจาะพระกรรณ และประกาศแสดงพระองค์
ให้ปรากฏซึ่งสถานที่ที่พระองค์ทรงต้องการดำเนินพิธีจะต้องเป็นวัดใดวัดหนึ่ง
ในจำนวน 4 วัดที่มีชื่อเสียงในขณะนั้นคือ วัดชเวสิกอง วัดชเวชานดอ วัดพระเกศธาตุ
ปรากฏว่าพระองค์ทรงเลือกทำพระราชพิธี ที่วัดพระธาตุมุเตา ที่กรุงพะโค
อันถือเป็นดินแดนศัตรูของพระองค์

พะโคห่างจากเมืองหลวงของพระองค์ประมาณ 120 ไมล์พระองค์ทรงเลือก
ทหารผู้เชี่ยวชาญจำนวน 500 คน แล้วนำนายทหารเหล่านั้น
เดินทางเข้าดินแดนของศัตรู พระองค์เสด็จไปถึงในรุ่งเช้า
ทหารเมืองพะโคเห็นว่าเป็นกองทหารม้าของศัตรูก็รีบไปประตูเมืองเอาไว้
ปล่อยให้พระองค์เข้าไปในวัดและดำเนินพระราชพิธีได้ ครั้นเมื่อแน่ใจว่า
มีทหารมาเพียง 500 คนเท่านั้น ทหารพะโคก็รีบเปิดประตูเมืองออกมาล้อมวัดเอาไว้
ซึ่งขณะนั้นพิธีใกล้เสร็จแล้วและโหราจารย์กำลังจะทำพิธีเจาะพระกรรณกษัตริย์
ทหารยามของพระองค์ก็ตะโกนแจ้งว่าพวกมอญกำลังมาแล้ว

ปรากฏว่าพระเจ้าตะเบงชะเวตี้กับกล่าวด้วยพระทัยเย็นว่าเจาะหูให้ดีหูฉันสำคัญกว่าพวกมอญ
และเมื่อเสร็จพิธีแล้วพระองค์ก็นำทหารฝ่าวงล้อมของทหารมอญออกไป
กล่าวกันว่าพวกทหารมอญตากตกใจที่ได้เห็นพระเจ้าตะเบงชะเวตี้พระองค์จริง
จึงไม่มีผู้ใดเข้ากีดขวางทหารม้าของพม่าพระเจ้าตะเบงชะเวตี้
จึงเสด็จกลับเข้าเมืองของพระองค์อย่างปลอดภัย

สิ่งที่พระองค์ทำในครั้งนั้นสร้างชื่อและกิตติศักดิ์ในเรื่องของความกล้าหาญ
ให้แพร่หลายออกไปทั่วพม่า ชาวพม่าทั่วไปมีกำลังใจขึ้นขณะเดียวกัน
มอญและไทยใหญ่ต่างก็เริ่มเกรงกลัวว่ากันว่าวิธีนี้เป็นวิธีการในการโฆษณา
ของกษัตริย์หนุ่มผู้ที่กล้าหาญและได้ผลที่สุด

หลังเสร็จขึ้นครองราชย์แล้วพระองค์ก็ได้เริ่มแผนการทำสงครามในทันใด
โดยเป้าหมายแรกของพระองค์คือการเข้าตีเมืองพะโคและเมาะตะมะของชาวมอญ
แทนที่จะเป็นอังวะ ทั้งนี้เพราะพระองค์มองว่าจะสามารถได้ทรัพย์สินเงินทอง
เพื่อนำมาต่อยอดในการขยายพระราชอำนาจของพระองค์ โดยนำเงินเหล่านั้น
ไปซื้อปืนคาบศิลาและปืนใหญ่พร้อมว่าจ้างทหารรับจ้างชาวโปรตุเกส
อันจะมาเป็นกองกำลังสมัยใหม่ที่มีประสิทธิภาพในกองทัพของพระองค์นั่นเอง

ทั้งนี้เพราะพระองค์มองว่าอังวะนั้นไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไปเพราะพวกไทยใหญ่
ที่ครอบครองอยู่ต่างแตกสามัคคีกัน แต่ที่น่าห่วงคือเมืองแปรที่ผู้ปกครอง
เป็นกึ่งพม่ากึ่งไทยใหญ่และเป็นพี่เขยของเจ้าเมืองมอญ

ดังนั้นจึงถือเป็นพันธมิตรของมอญหากพระองค์จะยกไปตีเมืองมอญ
จึงทรงเกรงว่าอาจจะถูกเมืองแปรเข้าตีโอบพระองค์ด้านหลังได้
แต่พระองค์ก็พร้อมที่จะเสี่ยง พศ 2078 พระองค์ก็กรีฑาทัพของพระองค์ลงใต้
กระทั่งได้ครองลุ่มน้ำอิระวดีพร้อมด้วยได้ทีเมืองสำคัญคือเมืองพะสิมสำเร็จ

แล้วยกทัพเข้าล้อมพะโคเอาไว้ พระโคทานอำนาจทัพของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้
เอาไว้ได้ถึง 4 ปีพ. 2082 พะโคก็แตก พระเจ้าแผ่นดินพะโคขณะนั้นคือพระเจ้าตาการยุทปิ
หนีไปยังเมืองแปลซึ่งอยู่ทางภาคเหนือส่วนทหารมอญ ชาวพะโคที่เหลือ
ไม่ได้มีใครคิดติดตามกษัติริย์ของตนไปแต่กลับหนีไปยังเมืองเมาะตะมะแทน

พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ไม่ปล่อยให้โอกาสนั้นผ่านไปยกกองทัพวมุ่งตีเมืองแปรต่อ
แต่ปรากฏว่าทัพของพระองค์ต้องแตกพ่ายกลับเนื่องจากพวกไทยใหญ่จากอังวะ
ยกมาช่วยเมืองแปรเอาไว้ กระนั้นในเวลาต่อมาเมื่อกษัตริย์มอญสิ้นพระชนม์
ขณะล่าสัตว์บรรดาขุนนางและทหารมอญที่หมดกำลังใจก็น้อมรับข้อเสนออภัยโทษ
ของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ยอมเข้าสวามิภักดิ์ต่อพม่า ทั้งนี้เพราะมองว่าการเข้ากับพม่า
ดีกว่าเข้ากับพวกไทยใหญ่ที่กำลังรวมตัวกันลงมาช่วยเมืองแปร
และหวังจะทำศึกกับพม่าอยู่ สุดท้ายเมื่อทหารมอญในเมืองแปร
สวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าตะเบงชะเวตี้แล้วก็สร้างความผิดหวังต่อไทยใหญ่อย่างมาก
จึงเลิกทัพกลับเมืองของตนเองไปแม้แท้จริงเมืองแปรก็ยังคงแข็งเมืองอยู่

พระเจ้าตะเบงชะเวตี้หวังว่านโยบายปะนีปะนอมกับชาวมอญที่พระองค์ทรงปฏิบัติ
โดยประกาศยกย่องให้มอญเท่าเทียมพม่านั้น จะทำให้เมาะตะมะยินยอม
ที่จะเข้ามาสวามิภักดิ์ต่อพระองค์อย่างง่ายดาย แต่ปรากฏว่าแทนที่เจ้าเมืองเมาะตะมะ
จะยอมเข้ากับพม่าแต่โดยดี ในเวลานั้นซึ่งกษัตริย์มอญได้สิ้นพระชนม์ไปแล้ว
ที่เมืองแปร เจ้าเมืองเมาะตะมะซึ่งเป็นน้องเขยของกษัตริย์มอญ
ก็ประกาศตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์มอญแทนและยังเชื่ออีกว่าเรือโปรตุเกสในอ่าว
และทหารรับจ้างของชาวโปรตุเกสจะสามารถช่วยต้านกองทัพของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้เอาไว้ได้

พ. ศ. 2084 พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ก็ยกทัพเข้าตีเมืองเมาะตะมะ
โดยมีทหารรับจ้างชาวโปรตุเกสติดตามและสามารถตีเมืองเมาะตะมะจนแตก
มีบันทึกของชาวโปรตุเกสกล่าวเอาไว้ว่าเพราะพระเจ้าตะเบงชะเวตี้พิโรธ
ที่เคยยื่นข้อเสนออภัยโทษแก่เจ้าเมืองเมาะตะมะมาก่อนแล้ว
แต่กลับถูกปฏิเสธ ดังนั้นเมื่อเข้าตีเมืองสำเร็จพระองค์จึงได้ลงโทษอย่างโหดเหี้ยม
ต่อชาวเมาะตะมะโดยเฉพาะมีการฆ่าหมู่ผู้แพ้ด้วยความโหดเหี้ยมนี้

ทำให้ในเวลาต่อมาเมืองเมาะลำเลิงที่เห็นตัวอย่างของเมาะตะมะมาแล้ว
ก็ยอมเข้าสวามิภักดิ์แต่โดยดีซึ่งในที่สุดอาณาจักรมอญทั้งหมดตลอดลงไปจนถึงเมืองทวาย
ที่อยู่ติดกับดินแดนของไทยทางใต้ก็ตกอยู่ใต้อำนาจของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้แทบทั้งสิ้น
และเพื่อเป็นการแสดงถึงชัยชนะอันเด็ดขาดของพระองค์เหนือชนชาติมอญ
พระเจ้าตะเบงชะเวตี้จึงได้ทรงเสริมยอดเจดีย์ชเวดากองที่สำคัญของมอญเสียใหม่
ด้วยทองคำบริสุทธิ์ประมาณ 36.5 ปอนด์

ต่อจากนั้นพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ก็ยกทัพกลับไปล้อมเมืองแปลอีกครั้งหนึ่งในพ.ศ 2085 หลังจากใช้เวลาล้อมอยู่ 5 เดือน
กองทัพพม่าก็ประสบชัยชนะและลงโทษเมืองแปลไม่ต่างกับที่ทำกับเมืองเมาะตะมะต่อจากนั้นพระเจ้าตะเบงชะเวตี้
จึงได้เสด็จไปยังเมืองพุกามและได้ประกอบพิธีราชาภิเษกอย่างสมบูรณ์เหมือนกับที่กษัตริย์พุกามได้กระทำต่อ
จากนั้นใน พ. ศ. 2508 พระองค์ก็ย้อนกลับมายังเมืองพระครูและทรงประกอบพิธีบรมราชาภิเษกอีกครั้ง
ตามประเพณีและวิธีการแบบกษัตริย์มอญและทรงตั้งเจ้าหญิงมอนให้เป็นราชินีอีกทั้งยังทรงแต่งเกศาแบบมอญ
อีกทั้งยังทรงแต่งตั้งข้าราชสำนักมอญให้เป็นขุนนางตำแหน่งสูงทั้งในราชสำนักและกองทัพของพระองค์

ที่สำคัญที่ควรรับรู้ก็คือพระองค์ทรงกำหนดให้เมืองพะโคหรือหงสาวดี
เป็นเมืองหลวงใหม่ของพระองค์แทนที่จะเป็นตองอูหรือพุกาม
ทำให้พระองค์ถูกมองจากนักประวัติศาสตร์อยู่ระยะหนึ่งว่าพระองค์นิยมมอญ
แต่ต่อมาก็มีการตั้งข้อสังเกตว่าหากพระองค์นิยมมอญจริงๆแล้วคงไม่ลงโทษเมาะตะมะ
และเมืองแปรดังที่ทำไปเช่นนั้นกล่าวได้ว่ามาถึงจุดนี้สิ่งที่พระองค์สำแดงออกไปนั้น
เป็นการแสดงให้เห็นว่าพระองค์เป็นทั้งกษัตริย์ของชาวพม่าและกษัตริย์ของชาวมอญ
ไปพร้อมกันอีกทั้งการที่พระองค์ทำพิธีบรมราชาภิเษกตามแบบพิธีของมอญ
และการแต่งพระเกศาแบบมอญเข้าเป็นการแสดงให้ชาวมอญได้เห็นถึง
ความตั้งใจของพระองค์ในการที่จะรวบรวมแผ่นดินให้เป็นหนึ่งเดียว

พระราชกรณียกิจแรกที่พระองค์ทรงกระทำหลังจากทำพิธีบรมราชาภิเษกแล้วนั่นคือ
ยกทัพไปโจมตีเมืองยะไข่ซึ่งที่ผ่านมาพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ไม่พอใจ
ที่ยะไข่ได้เคยยกทัพมาช่วยเมืองแปร พระเจ้าเมืองแปรเคยยกพระขนิษฐา
ไปเป็นราชินีของพระเจ้าเมืองยะไข่ แต่กระนั้นเมืองยะไข่ก็เป็นเมืองที่เข้มแข็ง
ทั้งมีป้อมและกำแพงเมืองที่แข็งแรงมากหลังจากเข้าโจมตีเมืองยะไข่อยู่ระยะหนึ่ง
และยะไข่ไม่แตกทัพของพม่าก็ถอนทัพกับพงศาวดารพม่า
อ้างเหตุผลว่าเพราะกองทัพไทยกำลังยกเข้ามารุกรานบริเวณตะนาวศรีซึ่งเป็นของพม่าในเวลานั้น

กระนั้นนักประวัติศาสตร์มองว่าแท้ที่จริงแล้วพระองค์อาจมองว่าเป็นเวลาเหมาะมากกว่า
ที่จะเข้าโจมตีกรุงศรีอยุธยา ทั้งนี้เวลานั้นได้เกิดความวุ่นวายขึ้นภายในราชสำนักอยุธยา
เหตุเพราะแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ ยกชู้ของพระนางขึ้นเป๋นกษัติริย์
และเกิดการลอบปลงพระชนม์กษัตริย์พระองค์ใหม่ กระทั่งพระเฑียรราชา
ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ในที่สุด

ปลายฤดูฝนพอ 2391 พระเจ้าตะเบงชะเวตี้จึงนำทัพใหญ่บุกเข้าเพื่อหวังโจมตีอยุธยา
หลังจากยื่นข้อเสนอให้แก่อยุธยายกช้างเผือกให้เป็นบรรณาการ แต่อยุธยาปฏิเสธ
ทัพพม่ายกทัพผ่านเมาะตะมะเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์
แม้ว่ากองทัพของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ในครั้งนี้จะยิ่งใหญ่ แต่ก็ไม่อาจเข้าหักทับอยุธยาได้สําเร็จ
สุดท้ายพระองค์จึงตัดสินพระทัยยกทัพกลับ นับเป็นความพ่ายแพ้ติดต่อกันถึง 2 หน
ครั้งแรกที่เมืองยะไข่ ครั้งต่อมาที่กรุงศรีอยุธยา เป็นผลให้พระองค์ทรงเสียพระทัย
หันมาเป็นนักดื่มตัวยง แต่นักประวัติศาสตร์พม่าอย่างหม่องทินอ่อง บอกว่าแท้ที่จริงแล้ว
พระองค์ได้ชัยจากยะไข่และสยามด้วยซ้ำ ทั้งนี้เพราะในเวลาต่อมาทั้งสองชาติ
ต่างมาร่วมไมตรีกัน ดังนั้นพระเจ้าตะเบงชะเวตี้จึงได้ผ่อนคลาย
จากการที่ทำสงครามมาอย่างยาวนานและช่วงเวลานั้นพระองค์
ได้มีเวลาออกท่องเที่ยวล่าสัตว์กับพระสหายชาวพุทธกิจ
ซึ่งพระสหายของพระองค์เชี่ยวชาญการนำผลไม้มาทำเหล้ามาก
ทำให้พระองค์ได้เสวยและติดพระทัยกระทั่งไม่สนใจกิจการบ้านเมือง

ในระหว่างที่พระองค์สนุกอยู่กับการร่ำสุราจนถึงบ้านเมืองนั้น สมิงทอเชื้อสายเจ้าเมืองมอญคนหนึ่ง
ได้ก่อกบฏขึ้นที่เมืองสิเรียมทำให้บุเรงนอง ขุนศึกคู่บัลลังก์ต้องยกทัพไปปราบกบฏมอญ
ก็ปรากฏว่าในเมืองพระครูสมิงสอชุดเชื้อสายเจ้าเมืองมอญอีกคนหนึ่ง
ก็เข้ามาอยู่ในกองทัพของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ซึ่งยังแข็งใจต่อพระองค์อยู่
ก็แอบลอบเข้าไปปลงพระชนม์พระเจ้าตะเบงชะเวตี้เสีย
แล้วยกตนเองขึ้นมาเป็นกษัตริย์ครองเมืองพะโค

ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้เมืองต่างๆที่เคยขึ้น
ต่อตองอู หงสาวดี ก็แข็งเมืองไม่ยอมขึ้นตรงต่อไป มีกบฏเกิดขึ้นมากมาย
มหาอุปราชาบุเรงนองต้องใช้เวลาปราบปรามอยู่อีกราว 2-3 เดือน
จึงจะได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์

แสดงความคิดเห็น