หลายๆท่านเคยมาท่องเที่ยวอยุธยา หลายๆท่านเป็นคนอยุธยา
แต่ก็อีกหลายๆท่าน ยังไม่ทราบว่าจริงๆแล้ว
ทางจังหวัดอยุธยานั้น มีพระนอนอยู่หลายวัด
ซึ่งตามความเชื่อแล้วการกราบไหว้พระนอน ของแต่ละวัดนั้นจะมีพุทธคุณ
ในด้านที่แตกต่างกันออกไป และวันนี้แอดมินจะพาทุกท่าน
“ไปไหว้พระนอน ขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์
เสริมสิริมงคลให้ชีวิต ที่อยุธยา”
ตามแอดมานะคะว่ามีวัดอะไรบ้างแล้วแต่ละวัดหากเราไปไหว้แล้ว มีความหมายอย่างไร
พระนอนวัดโลกยสุทธา อำเภอพระนครศรีอยุธยา
พระพุทธไสยาสน์ที่ใหญ่ ที่สุดในเกาะเมืองอยุธยา และเป็นวัดเก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ในรัชสมัยสมเด็จพระนครินทราธิราช พระราชบิดาเจ้าสามพระยา ราว พ.ศ.1995 มีพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ที่สุดของ อำเภอพระนครศรีอยุธยา ประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง องค์พระพุทธไสยาสน์ก่ออิฐถือปูน ขนาดยาว 42 ม. สูง 8 ม. มีดอกบัวเกยซ้อนรองรับพระเศียรแทนพระเขนย สันนิษฐานว่าแต่เดิมเป็นพระพุทธรูปไม่ทรงเครื่อง แต่การบูรณะใน พ.ศ.2499 คงมีการแก้พระเศียรเป็นอย่างพระพุทธรูปทรงเครื่อง รอบองค์พระมีเสาอิฐ 8 เหลี่ยม รวม 24 ต้น ซึ่งแต่เดิมคงจะมีการสร้างวิหารครอบพระพุทธไสยาสน์ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้พังทลายลงเมื่อใด
ถ้าใครได้มาสักการะ ถือว่าจะได้ความเมตตามหานิยม
การเดินทาง : วัดตั้งอยู่ใกล้เจดีย์พระศรีสุริโยทัย ใช้เส้นทางถนนหลังพลับพลาตรีมุข (ถนนเลียบคลองท่อ) ในบริเวณพระราชวังโบราณ ผ่านวัดวรโพธิ์ และวัดวรเชษฐาราม
พระนอนวัดสามวิหาร อำเภอพระนครศรีอยุธยา
เป็นพระพุทธไสยาสน์ศิลปะผสม
ถ้าใครได้สักการะ ถือว่าจะได้ความเมตตามหานิย
การเดินทาง : ตั้งอยู่ที่บ้านคลองบางขวด ต.หัวรอ อ.พระนครศรีอยุธยาจากสี่แยก
พระนอนวัดธรรมิกราช อำเภอพระนครศรีอยุธยา
วัดที่สร้างก่อนการสถาปนากร
ถ้าใครได้มาสักการะ ถือว่าจะได้เมตตามหานิยม สุขภาพแข็งแรงเพราะพระพุทธไ
การเดินทาง : วัดตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวัน
พระนอนวัดใหญ่ชัยมงคล อำเภอพระนครศรีอยุธยา
ไหว้พระนอน ณ วัดที่มีเจดีย์องค์ใหญ่ที่สูงที่สุดในอยุธยา เป็นวัดที่มีเจดีย์ทรงระฆังองค์ใหญ่ สัญลักษณ์แห่งชัยชนะขององค์สมเด็จ พระนเรศวรมหาราช เดิมชื่อสำนักสงฆ์ป่าแก้ว ที่สมเด็จพระเจ้าอู่ทอง องค์ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ได้สถาปนาพระวิหารให้เป็นพ ระอารามใน พ.ศ. 1900 โดยพระราชทานชื่อใหม่ว่า “วัดป่าแก้ว” ต่อมาในรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเจดีย์องค์ใหญ่ขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติยศ และเป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะในศึกยุทธหัตถี โดยทรงพระราชทานนามว่า “เจดีย์ชัยมงคล” พร้อมกันนั้น ได้ทรงโปรดฯ ให้สร้างวิหารพระพุทธไสยาสน์ เพื่อเป็นที่ถวายสักการะและบูชาพระปฏิบัติกรรมฐาน ปัจจุบันวิหารแห่งนี้หลงเหลือเพียงเสาสองต้นและกำแพงบางส่วนหลังองค์พระพุทธไสยาสน์ ซึ่งได้รับการปฏิสังขรณ์ใหม่
ถ้าใครได้มาสักการะ ถือว่าจะได้เรื่องการอภัยทาน เมตตามหานิยม
การเดินทาง วัดตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำป่าสัก จากกรุงเทพฯ เข้าตัวเมืองอยุธยา เลี้ยวซ้ายตรงเจดีย์วัดสามปลื้ม (เจดีย์กลางถนน) ตรงไปประมาณ 1 กม. จะพบวัดใหญ่ชัยมงคลอยู่ทางซ้ายมือ โทรศัพท์ 0 3524 4193
พระนอนวัดเสนาสนารามราชวรวิหาร อำเภอพระนครศรีอยุธยา
วัดเสนาสนารามราชวรวิหาร ตั้งอยู่ทางด้านหลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม เป็นวัดโบราณเดิมชื่อ “วัดเสื่อ” มีวิหารพระพุทธไสยาสน์ อยู่ติดกับพระเจดีย์องค์ใหญ่ ซึ่งพระวิหารนี้สร้างขวางกับแนวพระอุโบสถ พระพุทธไสยาสน์เป็นศิลปะแบบอยุธยา ประกอบด้วยศิลาเป็นท่อน ๆ นำมาเรียงต่อกันแล้วสลักเป็นองค์พระมีขนาด ยาว 14.2 เมตร แต่เดิมประดิษฐานอยู่ที่วัดพระมหาธาตุ รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างวิหารพระนอนขึ้นในวัด แล้วอัญเชิญพระพุทธไสยาสน์จากวัดมหาธาตุมาประดิษฐานไว้ที่วัดนี้
ถ้าใครได้มาสักการะ ถือว่าเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตและประสบความโชคดี
การเดินทาง เมื่อเข้าเกาะเมืองลงสะพานปรีดี ถึงไฟแดงเลี้ยวขวาตรงไปสุดถนนถึงถนนสายหนึ่งจะมีป้ายบอกไปวัดเสนา สนารามราชวรวิหาร ซึ่งมีทางเข้า 2 ทาง คือ บริเวณตำบลหัวรอ ด้านหน้าติดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษม ส่วนทางเข้าวัดอีกทางบริเวณ ถนนสายหนึ่ง หรือโทรศัพท์สอบถามได้ที่ 0 3525 1518,0 3525 1680
พระนอนวัดพนมยงค์ อำเภอพระนครศรีอยุธยา
วัดพนมยงค์ หรือวัดแม่นมโยง เป็นนามของแม่นมของพระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผู้ปฎิบัติดี มีใจสัตย์ซื่อและยึดถือคุณธรรมในการดำเนินชีวิต เมื่อหมดอายุขัยลงพระมหากษัตริย์พระองค์นั้น จึงได้โปรดเก้าฯให้สร้างวัด อุโบสถและวิหารพระนอนองค์ใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของกรุงเก่า ริมคลองเมือง เยื้องหน้าโรงเรียนประตูชัย ตำบลท่าว่าสุกรี (ในเขตเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา) สันนิษฐานว่าสร้างพระนอนองค์ใหญ่ทำด้วยปูนปั้นสวยงาม พุทธลักษณะละม้ายไปทางสุโขทัย เพราะพระศกท่านคล้ายก้นหอยขม และเข้าใจว่าแม่นมยงค์น่าจะเกิดวันอังคารจึงได้สร้างพระนอนองค์ ใหญ่ไว้ประจำวัด เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความดีงามของแม่นมยงค์
ถ้าใครได้มาสักการะ ถือว่าจะได้เรื่องโชคลาภและหายจากการเจ็บป่วย
การเดินทาง ตั้งอยู่ด้านทิศเหนือของกรุงเก่า ริมคลองเมือง เยื้องกับโรงเรียนประตูชัย โดยใช้เส้นทางหลวงอยุธยา – อ่างทอง วัดพนมยงค์อยู่ก่อนถึงวัดภูเขาทอง สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทรศัพท์ 035242135
พระนอนวัดพุทไธศวรรย์ อำเภอพระนครศรีอยุธยา
พระพุทธไสยาสน์สมัยอยุธยา ที่แสดงลักษณะพระบาทเหลื่อม สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ราว พ.ศ.1896 ในบริเวณ “เวียงเหล็ก” หรือ “เวียงเล็ก” ซึ่งเป็นพระตำหนักที่ประทับเดิมของพระองค์ ภายในบริเวณมีวิหารพระพุทธไสยาสน์ ซึ่งปัจจุบันเหลือแต่เพียงผนังและกรอบหน้าต่างบางส่วน และองค์พระพุทธไสยาสน์ก่อด้วยอิฐถือปูน ซึ่งมีพุทธลักษณะพิเศษ คือ เป็นหนึ่งในพระพุทธไสยาสน์ของอยุธยาเพียงไม่กี่องค์ที่แสดงลักษณะ การวางพระบาทเหลื่อม อันเป็นลักษณะเบื้องต้นของการคลี่คลายพุทธลักษณะให้คล้ายคนธรรมดา
นอกจากนั้นพระพาหา และพระกรที่พับวางราบด้านหน้า ในลักษณะหงายพระหัตถ์เพื่อรองรับพระเศียรนั้น เป็นรูปแบบที่นิยมมาตั้งแต่สมัยทวารวดี ลพบุรี อู่ทอง แตกต่างจากพระนอนในอิทธิพลศิลปะสุโขทัยที่พบในเขตเกาะเมืองอยุธยา ซึ่งมักจะตั้งพระกรขึ้นและหงายพระหัตถ์รองรับพระเศียรอยู่บนพระเขนย จึงนับเป็นตัวอย่างในการศึกษาพุทธศิลป์ในสมัยอยุธยาที่น่าสนใจ อย่างยิ่ง
ถ้าใครได้มาสักการะ ถือว่าจะได้เรื่องเมตตามหานิยม ความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
การเดินทาง วัดตั้งอยู่ริมแม่น้ำฝั่งใต้ ตรงข้ามกับเกาะเมือง ใช้เส้นทางสาย อยุธยา – เสนา ข้ามสะพานวัดกษัตราธิราชวรวิหาร เลี้ยวซ้ายไปทางวัดไชยวัฒนาราม จะมีป้ายบอกทางเป็นระยะ ไปจนถึงทางแยกเข้าวัดพุทไธศวรรย์ โทรศัพท์ 0 3524 2555