วัดพระศรีสรรเพชญ์


วัดพระศรีสรรเพชญ์

วัดพระศรีสรรเพชญ์

เป็นวัดสำคัญยิ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ในพระราชวังหลวง เป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา เปรียบได้กับวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวังกรุงเทพ หรือวัดมหาราชแห่งกรุงสุโขทัย

วัดพระศรีสรรเพชญ์

วัดพระศรีสรรเพชญ์อยู่ทางทิศเหนือของวิหารพระมงคลบพิตร แต่เดิมที่ตั้งของวัดเป็นพระราชมณเฑียรอันเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ ต่อมา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงอุทิศที่พระราชมณเฑียรสร้างเป็นวัดแห่งนี้ขึ้น

วัดแห่งนี้ใช้เป็นที่ประกอบพระราชพิธีต่างๆ เช่น พระราชพิธีถือน้ําพระพิพัฒน์สัตยา เป็นที่เสด็จออกทรงบำเพ็ญพระราชกุศล เป็นต้น และเป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาเกือบทุกพระองค์

 

ในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 โปรดเกล้าให้สร้างพระสถูปเจดีย์ใหญ่ขึ้น 2 องค์เมื่อปีพ.ศ 2035
องค์แรกทางทิศตะวันออกบรรจุพระบรมอัฐิพระราชบิดา (สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ)
อีกองค์ (องค์กลางในปัจจุบัน) บรรจุพระบรมอัฐิของพระบรมเชษฐา (สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3)
ต่อมาในปีพ.ศ 2042 ทรงสร้างพระวิหารขนาดใหญ่ขึ้นและในปี พ.ศ 2043 โปรดเกล้าให้หล่อพระพุทธรูปยืนสูงแปดวา ( 16 ม.)
หล่อ ด้วยสำริดหุ้มด้วยทองคำหนัก 286 ชั่ง เพื่อประดิษฐานไว้ภายในพระวิหารพระราชทานนามว่า “พระศรีสรรเพชญดาญาณ”
ถือเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญที่สุดในสมัยกรุงศรีอยุธยานับแต่นั้นเป็นต้นมาจึงเรียกนามวัดนี้ว่าวัดพระศรีสรรเพชญ์

ส่วนพระสถูปเจดีย์องค์ทางตะวันตกนั้น “สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร” โปรดเกล้าให้สร้างขึ้นมาเพื่อบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2  จึง ทำให้วัดแห่งนี้มีพระสถูปเจดีย์ 3 องค์ อันมีลักษณะศิลปะแบบลังกาที่งดงามเป็นสง่าอย่างที่เห็นในปัจจุบัน

 

ระหว่างพระสถูปเจดีย์แต่ละองค์จะมีมณฑปคั่นไว้อีกสามหลังสันนิษฐานว่าคงจะสร้างในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองและมีร่องรอยการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งหนึ่งในราวรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

ทางตะวันตกของพระเจดีย์องค์สุดท้ายมีฐานของพระวิหารจตุรมุข โดยตรงกลางมีเจดีย์บรรจุพระบรมอัฐิส่วนมุกทั้ง 4 ด้าน เชื่อว่าเคยมีพระพุทธรูปนั่ง ,ยืน,นอน,และเดิน ทางตะวันออกต่อกับเจดีย์องค์แรกเป็นวิหารสำคัญที่สุด เพราะบริเวณด้านท้ายซึ่งเรียกว่า “ท้ายจระนำ” เป็นซุ้มคูหาท้ายวิหารหรือท้ายบเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป “ซุ้มจระนำ” ใช้เป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของพระมหากษัตริย์องค์ต่างๆ

แสดงความคิดเห็น