พระราชวังกรุงศรีอยุธยา อาณาจักรใดจะเป็นราชธานีอันสมบูรณ์จะต้องมีวางเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์และศูนย์กลางทางการปกครองด้วย วังในยุคต้นอยุธยานั้นสร้างขึ้นมาด้วยไม้และมีโครงสร้างรวมทั้งสิ่งประกอบต่างๆที่ไม่สลับซับซ้อนมาก
นักในตอนแรกที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นนั้นพระองค์ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้สร้าง พระราชวังกรุงศรีอยุธยา ชั่วคราวขึ้นที่เวียงเหล็ก ต่อมาจึงได้สร้างพระราชวังแบบถาวรขึ้นที่บริเวณหนองโสน ส่วนที่เวียงเหล็กนั้นในเวลาต่อมาได้สร้างเป็นวัดพุทไธศวรรย์
แม้ว่าพระราชวังที่หนองโสนจะเป็นพระราชวังถาวรแล้ว แต่ก็ยังสร้างด้วยไม้และมีขนาดเล็กซึ่งมีคำเรียกพระราชวังในสมัยนี้ว่าคุ้มหลวงหรือเรือนจันทร์
ในช่วงแรกของกรุงศรีอยุธยายังมีประชากรไม่มากปราสาทราชวังต่างๆก็ยังมีน้อยไพร่ฟ้าหน้าใสทั้งหลายก็ยังอาศัยอยู่บริเวณโดยรอบพระราชวังเท่านั้น กระทั่งถึงสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งเป็นยุคเริ่มต้นของอยุธยาตอนกลาง ได้มีการบูรณะปฏิวัติรูปแบบของพระราชวังขึ้นมาใหม่ให้สอดคล้องกับสภาพสังคมภายในกรุงศรีอยุธยาที่มีจำนวนพลเมืองเพิ่มมากขึ้น
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงย้ายพระราชวังไปสร้างใหม่ทางทิศเหนือติดกำแพงเมืองและแม่น้ำลพบุรีส่วนบริเวณพระราชวังเดิมนั้นก็โปรดเกล้าให้สร้างเป็นวัดพระศรีสรรเพชญ์ซึ่งพระราชวัง ใหม่นั้นได้ก่อสร้างขึ้นให้กว้างขวางและสร้างอาคารต่างๆขึ้นมาอีกหลายหลังกระจายออกไปตามพื้นที่ตามพระราชประสงค์การใช้งานที่แตกต่างกันออกไป
พระราชวังในยุคของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถมี 3 ชั้นดังนี้
เขตพระราชฐานชั้นใน เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ชั้นสูงเท่านั้น
เขตพระราชฐานชั้นกลางเป็นที่สำหรับพระมหากษัตริย์เสด็จออกว่าราชการเมืองเป็นที่ประชุมขุนนางและก็ประกอบพิธีพระราชพิธีอันสำคัญต่างๆนอกจากนั้นยังใช้เป็นสถานที่ในการต้อนรับพระราชอาคันตุกะต่างเมืองอีกด้วย
เขตพระราชฐานชั้นนอก เป็นเขตที่คุณน้าทั้งหลายใช้เป็นสถานที่ประกอบราชการและเป็นที่พักเพื่อที่จะได้ทำการรับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทนอกจากนั้นก็ยังใช้เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีกลางแจ้งด้วยซึ่งวัดพระศรีสรรเพชญ์นั้นก็ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นนอกนี้
การที่วัด กับพระราชวังอยู่ในเขตอันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนั้นเช่นนี้สะท้อนให้เห็นถึงความเท่าเทียมกันระหว่างอำนาจในทางอาณาจักรและศาสนจักรไม่มีอำนาจใดที่ก้าวล้ำหรือครอบงำอีกอำนาจหนึ่งพระมหากษัตริย์ไทยในทุกยุคทุกสมัยจึงปกครองประเทศโดยยึดหลักตามความเมตตาปราณี และหลักของทศพิธราชธรรม
รูปแบบของพระราชวังที่มีวัดรวมอยู่ในเขตพระราชฐานเช่นนี้ยังสืบต่อกันมาจนกระทั่งถึงยุคกรุงรัตนโกสินทร์
ดังจะเห็นได้จากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้วซึ่งตั้งอยู่ในขอบเขตของพระบรมมหาราชวังเช่นกัน