แนะนำที่เที่ยวอยุธยา วัดมเหยงคณ์


วัดมเหยงคณ์ ตั้งอยู่ทางตะวันออกนอกเกาะเมือง คำว่า “มเหยงคณ์” มาจากภาษาบาลีว่า “มหิยังค์” (แผลงสระอิเป็นสระเอ) แปลว่าภูเขาหรือเนินดิน ชื่อนี้อาจตั้งตามสถานที่ในลังกาคือ “มหิยังคเจดีย์” ซึ่งนำมาเป็นแบบสร้างเจดีย์ช้างล้อมในวัดมเหยงคณ์

วัดมเหยงคณ์ อยุธยา

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา วัดมเหยงคณ์ เป็นวัดที่สำคัญอีกวัดหนึ่งมีฐานะเป็นพระอารามหลวงฝ่ายอรัญวาสีพระสงฆ์ปฏิบัติทางวิปัสสนาธุระ เจ้าอาวาสมีสมณศักดิ์เป็นพระธรรมกิจ

วัดมเหยงคณ์ อยุธยา

สภาพโบราณสถานโบราณวัตถุที่วัดแห่งนี้ยังคงเหลืออยู่ บ่งบอกถึงศิลปะการสร้างอันประณีตงดงามและระดับความสำคัญของพระรามได้เป็นอย่างดี

วัดมเหยงคณ์ อยุธยา

วัดมเหยงคณ์ อยุธยา

จากบันทึกพงศาวดารเหนือกล่าวว่าพระนางกัลยาณีพระมเหสีพระเจ้าธรรมราชาแห่งเมืองอโยธยา ( เป็นเมืองที่มีมาก่อนกรุงศรีอยุธยา) โปรดเกล้าให้สร้างขึ้นเมื่อพ.ศ 1853 และบูรณปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมในรัชสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ( เจ้าสามพระยา) เมื่อปีพ.ศ 1981 หลักฐานสำคัญที่สอดคล้องกันคือลักษณะทางศิลปกรรมของเจดีย์ทรงระฆังที่มีช้างล้อมฐานซึ่งเกี่ยวเนื่องกับเจดีย์ช้างล้อมในศิลปะสุโขทัย

วัดมเหยงคณ์ อยุธยา

ในบริเวณเขตพุทธาวาสมีกำแพงสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีซุ้มประตูทางเข้า 6 ด้านมีฉนวนทางเดินไปยังพระอุโบสถที่กว้างประมาณ 3.50 เมตรยาว 17 เมตรมีมุขทั้งด้านหน้าและด้านหลังล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว

วัดมเหยงคณ์ อยุธยา

ใบเสมาเป็นหินสีเขียวภายในมีแท่นฐานชุกชี 2 แท่นและมีชิ้นส่วนพระพุทธรูปแกะสลักจากหินทรายหักเป็นท่อนๆ ด้านหลังพระอุโบสถเป็นเจดีย์พระประธานทรงระฆังคว่ำ มีซุ้มจระนำประดิษฐานพระพุทธรูปหินทรายอยู่รอบองค์เจดีย์ ฐานทักษิณเป็นผังรูปสี่เหลี่ยมประดับด้วยช้างปูนปั้นโดยรอบทั้ง 4 ด้าน

วัดมเหยงคณ์ อยุธยา

วัดมเหยงคณ์ อยุธยา

ลักษณะคล้ายที่พบเมืองสุโขทัยและเมืองศรีสัชนาลัย ที่มักจะเรียกกันว่า “เจดีย์ช้างล้อม” ทางทิศเหนือของพระอุโบสถรอบกำแพงแก้วมีเจดีย์ลายทรงระฆังก่อฐานทักษิณสูง 2 ชั้นฐานบนเป็นศิลปะย่อเหลี่ยมไม้ 12 มีบันไดทางขึ้นด้านตะวันออก ยอดหักแค่บัลลังก์ชาวบ้านเรียกว่า “เจดีย์ทองแดง” และขุดพบสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว 10.50 เมตรกว้าง 7 เมตรก่ออิฐฉาบปูนลึก 3 เมตรอยู่ทางทิศใต้ของพระอุโบสถสันนิษฐานว่าเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์สำหรับใช้ประกอบพิธีกรรม

วัดมเหยงคณ์ อยุธยา

วัดมเหยงคณ์ อยุธยา

ตามพงศาวดารกล่าวถึงวัดนี้ไว้ว่าเมื่อครั้งพม่ายกทัพมาล้อมกรุงในคราวเสียกรุงครั้งแรกเมื่อ ปี พศ. 2112 พม่าได้มาตั้งทัพหลวงบัญชาการอยู่ที่วัดมเหยงคณ์ ครั้งนั้นตรงกับแผ่นดินสมเด็จพระมหินทราธิราช พระองค์ถูกคุมตัวออกไปถวายพระเจ้าบุเรงนอง ณพลับพลา วัดมเหยงคณ์ เมื่อพระเจ้าบุเรงนองเสด็จกลับได้พาสมเด็จพระมหินทราธิราชไปด้วย

วัดมเหยงคณ์ อยุธยา

วัดนี้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ (ในสมัยอยุธยาตอนปลาย) เมื่อปีพ.ศ 2252 โปรดเกล้าให้สร้างพระตำหนักอาคารก่ออิฐ 2 ชั้นขึ้นนอกกำแพงวัดเรียกว่าตำหนักมเหยงคณ์เพื่อเป็นที่ประทับทรงงานบูรณะปฏิสังขรณ์วัดการครั้งนี้กินเวลานาน 3 ปีเศษ

วัดมเหยงคณ์ อยุธยา

เมื่อเสียกรุงครั้งที่ 2 วัดนี้ได้กลายเป็นวัดร้างมีสภาพเสื่อมโทรมกรมศิลปากรได้ขึ้นบัญชีไว้เป็นโบราณสถานแห่งชาติและเป็นมรดกโลกที่ล้ำค่าแห่งหนึ่ง

วัดมเหยงคณ์ อยุธยา

วัดมเหยงคณ์ อยุธยา

ปัจจุบัน วัดมเหยงคณ์ เป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่นอกโบราณสถานและเป็นสถานที่ฝึกอบรมวิปัสสนาคือ วัดนี้ได้กลายเป็นวัดร้างมีสภาพเสื่อมโทรมกรมศิลปากรได้ขึ้นบัญชีไว้เป็นโบราณสถานแห่งชาติและเป็นมรดกโลกที่ล้ำค่าแห่งหนึ่งปัจจุบันเป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่นอกโบราณสถานและเป็นสถานที่ฝึกอบรมวิปัสสนาจึงทำให้บริเวณโดยรอบโบราณสถานกลายเป็นสำนักปฏิบัติกรรมฐานที่สงบร่มรื่น

 

เครดิตภาพสวยๆจาก : คุณ Aey Wallop Kerdtiemphum

เครดิตข้อมูล : จากหนังสือประวัติศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยว โดยคุณกิตติ โล่ห์เพชรัตน์

แสดงความคิดเห็น