หลายๆบอกแอดว่าอยากมาเที่ยวอยุธยา อยากไปหลายๆที่ แต่ปัญหาคือหาวัดไม่ค่อยเจอ มาค่ะรีวิวในวันนี้เราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับ วัดบรมพุทธาราม อยุธยา กันก่อนค่ะ
ประวัติความเป็นมา (แบบย่อ)
วัดบรมพุทธาราม เป็นวัดที่สำคัญวัดหนึ่งของพระนครศรีอยุธยา มีประวัติว่า พระเพทราชา (พ.ศ. ๒๒๓๑ – ๒๒๔๖) โปรดให้สร้างขึ้นที่พระนิเวศน์เดิมของพระองค์ในบริเวณที่เรียกว่า ย่านป่าตอง ภายในเขตกำแพงเมือง ระหว่างประตูไชยกับคลองฉะไกรน้อย
วัดบรมพุทธาราม มีชื่อเรียกกันเป็นสามัญว่า วัดกระเบื้องเคลือบ เหตุเพราะหลังคาอุโบสถมุงกระเบื้องเคลือบสีเหลืองแกมเขียว ต่างไปจากวัดอื่น ๆ ทั่วไปในสมัยนั้นที่มุงกระเบื้องดินเผากันเป็นพื้น สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงนิพนธ์ไว้ในตำนานเรื่องเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้นว่า “เมื่อครั้งกรุงเก่าปรากฏในจดหมายเหตุว่ามุงกระเบื้องเคลือบแต่ ๒ แห่ง คือ พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญปราสาท เมืองลพบุรีแห่งหนึ่ง ที่ วัดบรมพุทธาราม ในกรุงเก่าอีกแห่งหนึ่ง” เมื่อกรมศิลปากรทำการขุดแต่งวัดบรมพุทธารามเพื่อตรวจค้นหารากฐานเดิมใน พ.ศ. ๒๔๙๙ ก็ได้พบกระเบื้องเคลือบรูปครุฑ หน้าสิงห์ รูปเทพนม เคลือบสีเหลืองแกมเขียวเป็นหลักฐานยืนยันว่าวัดนี้มุงกระเบื้องเคลือบสีเหลือง (แกมเขียว) ตามที่กล่าวไว้ในพงศาวดาร อย่างไรก็ตามมีผู้สำรวจพบกระเบื้องเคลือบเป็นหลักฐานแสดงว่ามีการมุงหลังคาด้วยกระเบื้องเคลือบที่วัดอื่นด้วย คือที่วัดดุสิต เป็นกระเบื้องเคลือบสีเหลืองเหมือนกับ วัดบรมพุทธาราม และที่วัดกุฏีดาว เป็นกระเบื้องเคลือบสีเหลืองเช่นเดียวกัน
เอาหล่ะค่ะ คราวนี้เราก็ได้รู้ประวัติคร่าวๆของ “วัดบรมพุทธาราม” กันไปแล้ว คราวนี้เราจะเดินทางไปยัง “วัดบรมพุทธาราม” กันค่ะ
ถ้าเพื่อนๆเดินทางมาจากกรุงเทพโดยใช้ถนนสายเอเชีย(ทางหลวงหมายเลข 32)เลี้ยวซ้าย
ตรงสี่แยกเข้าอยุธยา จะเจอเจดีย์วัดสามปลื้ม (ตั้งเด่นกลางถนน) จากนั้นให้ตรงเข้ามาผ่านสะพานนเศวร ไปตาม ถ.โรจนะ จะเจอสี่แยกไฟแดงที่ 1 ให้ขับตรงไป เจอสี่แยกไฟแดงที่ 2 ก็ให้ขับตรงไปอีกค่ะ จนสุดถนน จากนั้นเลี้ยวซ้าย ไปประมาณ 100 เมตรก็จะเจอป้าย (ตามภาพด้านบนนะคะ) และจะมองเห็น “วัดบรมพุทธาราม” จากถนนเลยค่ะ
และเมื่อเข้ามาด้านในแล้วเราจะพบกับ #สะพานป่าดินสอ ตั้งอยู่ตรงหน้าเลยค่า
ประวัติของสะพานป่าดินสอ (คร่าวๆนะคะ) สะพานบ้านดินสอ เป็นสะพานอิฐข้ามคลองฉะไกรน
ป่าดินสอนี้เป็นย่านการค้าส
เดินเลยสะพานมาอีกหน่อยเราจะเจอกับ วัดบรมพุทธาราม ค่ะ
รอบนอกพระอุโบสถ มีซากฐานตั้งใบเสมา รวม 8 ใบ มีกำแพงรอบพระอุโบสถทั้งสี่ด้าน
มีประตูกำแพงด้านละ 2 ประตูภายนอกกำแพงด้านหน้าอุโบสถ มีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง
เรียงอยู่ 2 องค์ มีซากวิหารรูปสี่เหสี่ยงผืนผ้าหันหน้าไปทางทิศเหนือ มีประตูใหญ่
ด้านละ 1 ประตู ประตูข้างด้านใต้ 2 ประตู
จิตรกรรม พบที่ บานแผละหน้าต่าง เป็นพื้นลายพุ่มข้าวบิณฑ์ บานแผละประตูหลัง ด้านขวาพระประธานมีภาพลางๆคล้ายบุคคลนั่งในปราสาท บานแผละ*ประตูหลังด้านซ้ายพระประธาน มีกรอบเส้นสินเทาและเส้นหลังคาปราสาท สีที่ใช้เท่าที่ปรากฏมีสีเขียว,สีดำลงเป็นพื้นพุ่มข้าวบิณฑ์ และลายกระหนกที่ล้อมรอบพุ่มข้าวบิณฑ์
พุ่มข้าวบิณฑ์์แต่ละบานแผละ* มีลักษณะต่างกันบางแห่งเป็นลายพันธุ์พฤกษา บางแห่งเป็นลายกระหนก เขียนสีลงบนผนังปูนฉาบที่เรียบสีขาว เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานของกรมศิลปากรเข้าไปทำการอนุรักษ์ ภาพจิตรกรรมจึงถูกลบเลือนไปจนแทบจะไม่ปรากฏให้เห็นอีกแล้ว
* หมายเหตุ บานแผละคือผนังตอนที่บานประตูหน้าต่างเมื่อเปิดเข้าไปแล้วแปะอยู่
และนี่ก็เป็นรีวิวฉบับเต็มของ วัดบรมพุทธาราม ที่แอดมินพาเพื่อนๆมาเที่ยวกันในวันนี้นะคะ รีวิวครั้งหน้าแอดมินจะพาไปเที่ยวที่ไหนบ้าง ฝากติดตามกันนะคะ
เครดิตภาพสวยๆจาก : คุณ Aey_Wallop