สวัสดีค่ะ วันนี้แอดมินมีความภูมิใจมากในการนำเสนอบทความที่เกี่ยวกับ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ในหัวข้ออย่าปล่อยให้ “กรุงเก่า” ต้องลบเลือนไปตามกาลเวลา
และบทความที่แอดมินจะนำเสนอในวันนี้นั้น แอดคัดสรรมานำเสนอเฉพาะวัด / สถานที่
ที่ผู้คน นักท่องเที่ยวต่างๆเข้าไปไม่ค่อยถึงจริงๆค่ะ
แอดอยากนำเสนอบทความนี้ให้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการมาเที่ยวอยุธยาที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น แอดมั่นใจนะคะว่าถ้าคนอยุธยาเราช่วยกันเผยแพร่ นำเสนอเรื่องราวที่ลงลึดมากยิ่งขึ้น ก็ยิ่งจะทำให้ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เรานั้นมีที่ท่องเที่ยว มีเรื่องราวน่าค้นหามากยิ่งขึ้นค่ะ ซึ่งบางโพสต์ที่แอดนำไปลงที่เพจอยุธยาสเตชั่นนั้น บางท่านที่เป็นคนอยุธยาแท้ๆยังไม่รู้เลยก็มี แอดจึงตั้งใจมากๆค่ะที่จะนำเสนอบทความนี้ มาค่ะตามมาดูกันว่ามีที่ไหนอย่างไรกันบ้าง
วัดพระยาแมน
วัดพระยาแมน เป็นวัดร้าง ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองสระบัว อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยวัดพระยาแมนได้รับการประกาศให้เป็นโบราณสถานของชาติ แต่ไม่ได้กำหนดขอบเขต เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 หลังจากนั้น จึงได้รับการขึ้นทะเบียนแบบกำหนดขอบเขตอีกครั้ง เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2523
วัดพระยาแมนเป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี โดยไม่ปรากฏนามผู้สร้าง
และไม่ทราบว่าสร้างขึ้นในรัชสมัยใด แต่ชื่อวัดพระยาแมนปรากฏในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา กล่าวคือ ก่อนที่สมเด็จพระเพทราชาจะได้ครองราชสมบัตินั้น ผนวชอยู่ที่วัดพระยาแมน
โดยพระอาจารย์อธิการได้ทำนายว่าพระองค์จะได้ขึ้นครองราชสมบัติ รวมทั้งยังได้ให้โอวาทานุสาสน์ในสมณะกิจทั้งปวง
ดังนั้น เมื่อสมเด็จพระเพทราชาได้เสวยราชสมบัติแล้วจึงทรงพระราชดำริถึงคุณพระอาจารย์อธิการวัดพระยาแมน
จึงเสด็จพระราชดำเนินไปยังวัดพระยาแมนเพื่อถวายนมัสการพระอาจารย์ แล้วมีพระราชดำรัสให้ให้สร้างพระอารามให้ถาวรขึ้นกว่าเก่าเมื่อสร้างแล้วเสร็จทรงพระกรุณาให้มีการสมโภช 3 วัน และทรงตั้งพระอาจารย์อธิการวัดพระยาแมนชื่อ พระยาศรีสัจจญาณมุนี ราชาคณะ ฝ่ายคามวาสี พร้อมถวายเครื่องสมณบริขารพร้อมตามศักดิ์พระราชาคณะทุกประการจากพงศาวดารแสดงให้เห็นว่าสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้ล้วนเป็นฝีมือช่างคราวปฏิสังขรณ์ในครั้งนั้นทั้งสิ้น
วัดจงกลม
วัดจงกลม เป็นวัดที่สำคัญวัดหนึ่ง ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองสระบัว
อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ปัจจุบันเป็นวัดร้างอยู่ห่า
เยื้องจากวัดพระรามหรือวัดพ
วัดจงกลมมีขอบเขตพื้นที่โบร
รอบวัดติดกับที่ดินของชาวบ้
ด้านทิศเหนือใกล้วัดพระยาแม
ด้านทิศใต้ใกล้วัดพระรามหรื
ด้านทิศตะวันตกเป็นบริเวณทุ
ด้านตะวันออกเป็นถนนทางเข้า
ซึ่งสร้างทับลงบนถนนอิฐสมัย
ไม่ปรากฏหลักฐานประวัติความ
ในเอกสารประวัติศาสตร์เรื่อ
ว่า พระธรรมสารเถร อธิการวัดจงกรม ได้เข้าร่วมถวายพระพรสมเด็จ
ณ พระที่นั่งบรรยงต์รัตนาสน์ ในพระบรมมหาราชวังใน พ.ศ. ๒๒๔๒
ซึ่งนับเป็นข้อสันนิษฐานได้
ในเอกสารประวัติศาสตร์ดังกล
เพราะคำว่าจงกลมนั้นไม่มีคว
ในที่กำหนดอย่างพระเจริญกรร
ซึ่งอาจเปรียบเทียบได้กับภา
ในซุ้มจระนำรอบเจดีย์ประธาน
โบราณสถานในจังหวัดพระนครศร
วัดตะไกร
วัดตะไกรถือเป็นวัดร้างที่ม
จากหนังสือประชุมพงศาวดารภา
ฉบับพิมพ์ในงานพระราชทานเพล
เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์พ.ศ 2479 หน้า 166 ถึง 167 ได้กล่าวถึงตลาดบก
รอบกรุง 4 ว่าที่หน้าวัดตะไกรเป็นตลาดท่าน้ำที่หน้าวัดพร
ในจำนวนตลาดนอกกรุงซึ่งมีอย
เรื่องเสภาขุนช้างขุนแผน สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภา
ได้ทรงสันนิษฐานโดยอาศัยพงศ
ในรัชกาลของสมเด็จพระรามาธิ
ได้กล่าวถึงความสำคัญถึงวัด
น่าจะสร้างขึ้นในช่วงพ. ศ. 2006 ถึง 2170 ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโล
ขึ้นมาจนถึงรัชกาลสมเด็จพระ
และมีหลักฐานว่ามีการกลับมา
วัดกระซ้าย
วัดกระชาย แท้จริงแล้วคือ “วัดเจ้าชาย” สันนิษฐานกันว่าสมเด็จพระเอกาทศรถเป็นผู้สร้างขึ้น เพื่อเป็นวัดประจำพระองค์ และเวลาไล่เลี่ยกัน ท่านได้สร้าง วัดวรเชษฐ์ สมัยโบราณถูกเรียกว่า “วัดเจ้า ชษฐ์” ถือเป็นวัดประจำพระองค์พระนเรศวร แต่ที่มาเพี้ยนเป็น “วัดวรเชษฐ์” นั้น อนุมานได้ว่าเป็นเพราะภายหลังการถวายพระเพลิงพระบรมศพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแล้ว สมเด็จพระเอกาทศรถได้พระราชทานชื่อใหม่เพื่อเป็นที่ระลึกถึงพระบรมเชษฐาธิราช จึงให้เรียกขานวัดนี้ว่า “วัดวรเชษฐ์” อันแปลว่า “วัดพี่ชายผู้ประเสริฐ” และท่านได้สร้าง วัดมหาเถรคันฉ่องถวายให้กับพระอาจารย์ อันเป็นที่รักและเคารพของพระองค์และพระนเรศวร ที่ทรงไปนิมนต์กลับมาสยามครั้งทรงขึ้นเป็นกษัตริย์นั่นเอง
โดยถ้าดูที่ตั้งของวัดทั้ง 3 จะพบว่า เป็นการตั้งวัดตามคติความเชื่อโบราณ เป็นรูปสามเหลี่ยมพีระมิด อันเป็นรูปร่างของการประจุพลังงาน เพื่อที่วัดทั้งสาม เมื่อสวดมนต์พร้อมกันก็จะเป็นคลื่นพลังงานแห่งพระพุทธคุณแผ่ปกคลุมและหนุนนำอยุธยา แต่ในกาลต่อมากลับมีกลุ่มบุคคล ไม่หวังดีเปลี่ยนชื่อวัดเจ้าชายเป็นวัดกระชาย วัดวรเชษฐ์เป็นวัดประเชต (วรเชต) ซึ่งแปลว่าเฉดหัวไป และวัดมหาเถรคันฉ่อง เป็นวัดลอดช่อง ซึ่งเสมือนตั้งใจทำลายวัดสำคัญในประวัติศาสตร์ชาติไทย ให้สูญสิ้นไปจากแผ่นดินไทย ไม่ใครได้รับรู้ศึกษา
วัดเจ้าชาย ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา บริเวณทุ่งปากกราน ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปัจจุบันเป็นวัดร้างที่ยังไม่ได้มีการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน อยู่บนเนินกลางทุ่งนา สันนิษฐานว่าสมัยก่อนมีคูน้ำล้อมรอบบริเวณวัด ปัจจุบันคูน้ำได้เปลี่ยนสภาพเป็นทุ่งนาไปหมดแล้ว เมื่อถึงฤดูทำนาจะมีน้ำเจิ่งนองล้อมรอบวัดและมีความลึกพอสมควร ไม่สามารถเดินทางด้วยเท้าเข้าถึงวัดได้
“ผู้รู้ท่านหนึ่งให้ความรู้ว่า ความสำคัญของวัดเจ้าชาย เป็นที่สถิตของเทพ พรหม และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พวกใจบาปหยาบช้า จึงมีความหวาดกลัวต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และเทพ พรหม จะมาลงโทษ จึงร่วมกันทำลายเสียเลย ความจริงสิ่งที่ลำลายได้เป็นวัตถุเท่านั้น พลังสิ่งศักดิ์สิทธิ์และพลังเทพพรหมไม่สามารถทำลายได้ พลังเหล่านั้นจะสถิตคงอยู่ตามสภาวะ แต่เมื่อใดก็ตามมีเหตุปัจจัยถึงพร้อมก็จะแสดงออกมา และไม่เฉพาะวัดเจ้าชายเท่านั้น พลังที่สถิตที่วัดวรเชษฐ์และวัดมหาเถระคันฉ่อง ซึ่งเป็นรูปพีระมิด ศูนย์พลังที่ชัดเจนที่สุดคือบริเวณเจดีย์ คนที่เชื่อเท่านั้นที่จะสามารถรับพลังตรงนี้ได้เช่นเดียวกัน”
อ้างอิง : https://soclaimon.wordpress.com
วัดหน้าพระเมรุ กับสิ่งที่หลายคนคาดไม่ถึง
เมื่อเอ่ยชื่อวัดหน้าพระเมรุ 90% จะนึกถึงเรื่องราวของวัดที่ไม่ถูกพม่าทำลาย แต่น้อยคนนักค่ะที่จะรู้ว่าวัดหน้าพระเมรุนั้นยังมีอะไรที่ซ่อนอยู่ไม่น้อยเลย เรามาดูกันค่ะว่าเอ๊ะวัดหน้าพระเมรุนั้นยังมีอะไรที่เรามองข้ามหรือไม่รู้กันบ้างนะ
หากเดินเข้าไปตรงด้านหลังเราจะได้พบกับ เจดีย์ราย 3 องค์ตั้งอยู่ด้านข้างพระอุโบสถของวัดหน้าพระเมรุ โดยเจดีย์องค์หนึ่งมีเศียรพระพุทธรูปอยู่ในต้นไม้ ถูกรากไม้รัดติดตรึงอยู่ที่บริเวณต้นนั้น เป็นภาพที่สวยงามแปลกตา
เจดีย์องค์หนึ่งมีโพธิ์ปกคลุมอยู่ โพธิ์ทั้งต้นเติบโตปกคลุมอยู่บนเจดีย์จนมองไม่เห็นยอด เป็นสิ่งแปลกตาและน่าสนใจอีกจุดหนึ่งของวัดหน้าพระเมรุ แต่ยังไม่มีการกล่าวถึงมากนักค่ะ
เป็นอย่างไรกันบ้างคะสำหรับข้อมูลที่แอดมินนำมาฝากกัน หวังว่าเพื่อนๆที่ติดตามอยุธยาสเตชั่นจะได้รับความรู้ที่แปลกใหม่ไม่น้อยเลยนะคะ แอดฝากติดตามบทความของเว็บอยุธยาสเตชั่นด้วยนะคะ ขอบพระคุณทุกๆท่านที่ติดตามมาโดยตลอดค่ะ