วัดเชิงท่า อยุธยา


#เขียนแบบบางใหญ่และเจดีย์รายตั้งอยู่เป็นกลุ่มหน้าอุโบสถ มีรูปทรงแปลกๆมีทั้งเจดีย์เหลี่ยมและเจดีย์ทรงลังกา 
อีกทั้งเจดีย์กลม องค์ระฆังเป็นทางยาวๆคล้ายกลีบมะเฟือง ฐานย่อมุมสิบสอง

องค์ปรางค์ของวัดเป็นปรางค์แบบสมัยอยุธยาตอนต้น พบร่องรอยการบูรณปฏิสังขรณ์ต่อเติม ทางทิศใต้เป็นวิหารยื่นออกมาจากมุขของปราง ทั้งยังมีปีกยื่นออกมา ๒ ข้างองค์ปรางค์อีกด้วย

วิหารเจาะหน้าต่างเหลี่ยม ใช้คานไม้ทำให้รู้ชัดว่าซ่อมต่อเติมในสมัยอยุธยาตอนปลาย ใบเสมาของวัดสลักด้วยหินทรายขาวเป็นใบเสมาเดี่ยว รูปร่างแปลกเป็นแบบเดียวกับใบเสมาที่วัดพนมยงค์ไม่ผิดเพี้ยน หญ้าและต้นกระถินขึ้นคลุมไปทั้งวิหารและทั่วบริเวณวัด จึงไม่อาจตรวจสอบทำแผนผังได้อย่างละเอียด

ศาลาการเปรียญตรงหน้าบันมีลายสลักไม้สมัยอยุธยาตอนปลาย ฝีมือน่าชมทั้งภายในยังมีธรรมมาสน์และบุษบก ฝีมือจำหลักไม้ดีเยี่ยมเห็นแบบราลีที่หลังคาเป็นยอดแหลม ซึ่งไม่เคยเห็นที่ไหนผนังศาลาการเปรียญมีภาพเขียนสมัยรัชกาลที่ ๔ หรือที่ ๕ ฝีมือพอใช้ได้

น่าสนใจด้านขนบประเพณีได้วางโครงการไว้ว่าวันหลังจะมาเขียนบุษบกและธรรมมาสน์ให้ละเอียดอีกครั้งหนึ่ง

เครดิตภาพและข้อมูล : หนังสือห้าเดือนกลางซากอิฐปูน ที่อยุธยา
น. ณ ปากน้ำ

แสดงความคิดเห็น