วัดหัสดาวาส หรือ วัดช้าง
ตั้งอยู่นอกเกาะเมืองศรีอยุธยาทางทิศตะวันตกของวัดหน้าพระเมรุ
สันนิษฐานว่า วัดหัสดาวาส น่าจะสร้างมาก่อนรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ(พ.ศ.2091-2111)
เพราะปรากฏหลักฐานในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาว่าเมื่อครั้งศึกหงสาวดี
บุเรงนองยกมารุกรานพระนครในปีพ.ศ 2092 นั้นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์
ทรงเห็นว่าคงไม่อาจต้านทานกำลังของข้าศึกได้จึงโปรดให้แต่งพระราชสาส์นออกไป
ถวายพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองเพื่อขอเป็นไมตรีแล้วโปรดให้สร้างพลับพลา
ที่ประทับขึ้นที่บริเวณระหว่างวัดหน้าพระเมรุกับ วัดหัสดาวาส เพื่อใช้เป็นที่ทำสัญญาสงบศึก
จากนั้นในปี พ.ศ 2303 พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาระบุว่า
เข้าไปในเกาะเมืองที่วัดหน้าพระเมรุและวัดท่าช้าง
ซึ่งคงจะหมายถึง วัดหัสดาวาส ซึ่งมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าวัดช้าง
และอยู่บริเวณใกล้กันกับวัดหน้าพระเมรุ
จากวัดหน้าพระเมรุไปทางทิศตะวันตกจะพบโบราณสถานของ วัดหัสดาวาส
ตั้งอยู่โดดเด่นมีคูน้ำล้อมรอบ ภายในวัดประกอบด้วยซากโบราณสถาน
ของเจดีย์ประธานทรงกลมบนฐานแปดเหลี่ยม ซึ่งอาจารย์ น.ณ ปากน้ำ ให้ทัศนะว่า
เป็นฝีมือการก่อสร้างสมัยอโยธยาตอนปลาย
ถัดมาเป็นสร้างพระอุโบสถมีฐานพระประธานตั้งไปทางทิศตะวันออก (คลองสระบัว)
ด้านหน้าพระอุโบสถมีเจดีย์ทรงกลมบนฐานสี่เหลี่ยมทรวดทรงค่อนข้างสมบูรณ์
เพราะได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์มาอย่างดี
ระหว่างวัดหัสดาวาสและวัดหน้าพระเมรุ ซึ่งพระราชพงศาวดารระบุว่าเป็นที่ตั้งพลับพลา
ที่ประทับสำหรับทำสัญญาสงบศึกนั้น ปัจจุบันมีถนนตัดผ่ากลางเข้าไปถึงย่านชุมชนคลองสระบัว
ซึ่งจะผ่านวัดสำคัญๆในหมู่โบราณสถานคลองสระบัว เช่น วัดตะไกร วัดกำแพง วัดเจ้าย่า วัดศรีโพธิ์ เป็นต้น