วัดส้ม จ.พระนครศรีอยุธยา


วัดส้ม จ.พระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่ทางด้านใต้ของเกาะเมือง วัดนี้ไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับประวัติการสร้าง สันนิษฐานว่าคงจะเป็นวัดที่ขุนนางหรือคหบดีผู้หนึ่งสร้างขึ้นในบริเวณที่ของตนเองในสมัยนั้น

แนะนำที่เที่ยวอยุธยา วัดส้ม จ.พระนครศรีอยุธยา

แต่เดิมโบราณสถานมีสภาพเป็นเนินดิน มีปรางค์ประธานที่มีลวดลายปูนปั้นเหลือเพียงองค์เดียว ภายในห้องเรือนธาตุของปลามีร่องรอยการขุดจนเป็นหลุมลึกลงไป ต่อมากรมศิลปากรได้ประกาศขอบเขตพื้นที่ของวัดส้มให้เป็นเขตอุทยานประวัติศาสตร์

แนะนำที่เที่ยวอยุธยา วัดส้ม จ.พระนครศรีอยุธยา

วัดส้มเป็นวัดเล็กๆริมคลองฉะไกรใหญ่ ซึ่งคลองฉะไกรใหญ่เป็นย่านการค้าที่สำคัญสายหนึ่ง มีเส้นทางสัญจรทางบกที่เชื่อมต่อกับถนนสายอื่นๆมากมาย ดังจะเห็นได้จากตลอดเส้นทางของคลองนี้มีสะพานอยู่ถึง 5 สะพาน คือสะพานขุนโลก สะพานวัดขวิดข้ามไปวัดกุฎีฉลัก สะพานลำเหย สะพานสวนองุ่น และสะพานสายโซ่ ซึ่งตำแหน่งทั้ง 5 สะพานนี้มีกล่าวถึงชื่อวัดที่อยู่ใกล้คลองฉะไกร  3 วัดคือวัดกุฎีฉลัก (วัดส้ม) วัดขวิด (วัดเจ้าพราหมณ์ ) อยู่คนละฝั่งและวัดระฆัง

แนะนำที่เที่ยวอยุธยา วัดส้ม จ.พระนครศรีอยุธยา

จากการสำรวจดูรากฐานของโบราณสถานสองฟากฝั่งคลองในปัจจุบัน ยังคงเหลือร่องรอยของวัดอยู่เพียง 5 วัด คือวัดเจ้าปราบ วัดอุโบสถ วัดเจ้าพราหมณ์ วัดป่าพัด วัดระฆัง(วัดวรโพธิ์) ทั้ง 5 วัดนี้เรียงรายอยู่บนฝั่งตะวันตก ส่วนฝั่งตะวันออกคงเหลือเพียงวัดส้มเท่านั้น ดังนั้นจึงสันนิษฐานไว้ในชั้นต้นว่าตำแหน่งที่ตั้งของสะพานที่ 2  ซึ่งถัดจากสะพานขุนโลก ที่อยู่ปากคลองฉะไกรใหญ่ คือสะพานข้ามระหว่างวัดกุฎีฉลักกับวัดขวิด และอาศัยเหตุผลอีกประการหนึ่งว่า นายอธิบายแผนที่พระนครศรีอยุธยาได้กล่าวถึงสะพานที่ข้ามคลองฉะไกรว่า ข้ามระหว่างวัดขวิดกับวัดกุฎีฉลัก แต่ในการสำรวจและทำแผนที่ของ “พระยาโบราณราชธานินทร์” งั้นกลับไม่มีตำแหน่ง 2 วัดนี้บนแผนที่แต่ปรากฏชื่อใหม่แทนคือวัดส้มและวัดเจ้าพราหมณ์

แนะนำที่เที่ยวอยุธยา วัดส้ม จ.พระนครศรีอยุธยา

วัดส้ม (วัดกุฎีฉลัก) อาจจะไม่มีความสำคัญในสมัยกรุงศรีอยุธยาความจริงชื่อเดิมของวัดกุฎีฉลักอาจจะไม่ได้เป็นชื่อดังกล่าว เชื่อว่าคงจะเกิดขึ้นภายหลัง โดยเกิดขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย หรือสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ส่วนชื่อวัดส้มคงเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5

แนะนำที่เที่ยวอยุธยา วัดส้ม จ.พระนครศรีอยุธยา

สิ่งก่อสร้างที่สำคัญได้แก่ปรางค์ประธาน วิหาร และเจดีย์ราย โครงสร้างทางสถาปัตยกรรมที่เป็นปรางค์ก่ออิฐและมีการทำทับหลังรวมทั้งลวดลายปูนปั้นประดับองค์ปรางค์ พบว่ามีวิวัฒนาการมาจากโครงสร้างและลวดลายในสถาปัตยกรรมขอม

แนะนำที่เที่ยวอยุธยา วัดส้ม จ.พระนครศรีอยุธยา

จากการขุดตรวจชั้นดินและขุดทดสอบรากฐานของสิ่งก่อสร้างพบว่าตัวของเจดีย์ฐานแปดเหลี่ยมที่ตั้งอยู่รายรอบโบราณสถานหลักคือปรางค์และวิหารด้านทิศตะวันออก อยู่จมจากพื้นระดับของปรางประธานประมาณ 150 เซนติเมตร ในขณะที่เจดีย์องค์ด้านทิศเหนือ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และทิศตะวันตก ได้รับการดัดแปลงให้เป็นเจดีย์แบบย่อมุมไม้สิบสอง โดยก่อส่วนของเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองประกบพ่อเข้าไปหุ้มเจดีย์แบบฐานแปดเหลี่ยมไว้ภายใน

แนะนำที่เที่ยวอยุธยา วัดส้ม จ.พระนครศรีอยุธยา

แนะนำที่เที่ยวอยุธยา วัดส้ม จ.พระนครศรีอยุธยา

แนะนำที่เที่ยวอยุธยา วัดส้ม จ.พระนครศรีอยุธยา

การเปิดหลุมทดสอบที่ฐานปรางค์ที่บริเวณมุมทิศตะวันตกเฉียงเหนือเพื่อให้หลุมทดสอบเชื่อมโยงกับเจดีย์ฐานแปดเหลี่ยมคู่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือและทิศเหนือ เมื่อเปิดหลุมลงไปในระดับเดียวกับเจดีย์ฐานแปดเหลี่ยมองค์แรกพบว่า การปฏิสังขรณ์ปรางค์ประธานและเจดีย์ฐานแปดเหลี่ยมได้มีการกระทำขึ้นในระยะหลังต่อมา ซึ่งสมัยนั้นคงจะไม่ได้ปฏิสังขรณ์แต่เพียงปรางค์และเจดีย์เท่านั้น คงจะทำการปฏิสังขรณ์หมดทั้งพระอาราม

แนะนำที่เที่ยวอยุธยา วัดส้ม จ.พระนครศรีอยุธยา

รายการขุดแต่งตัววิหารที่อยู่ทางทิศตะวันออกของปรางค์ประธานได้พบหลักฐานคือการก่อสร้างวิหารในสมัยหลัง (สมัยอยุธยาตอนปลาย) ได้ตั้งอยู่บนวิหารเก่า ดังนั้นจากการวิเคราะห์รูปแบบของสถาปัตยกรรมจึงสามารถแยกออกได้เป็น 2 ระยะคือระยะที่ 1 เจดีย์ฐานแปดเหลี่ยมร่วมสมัยกับปรางค์ประธานส่วนที่ 1 และฐานวิหารชั้นล่าง ระยะที่ 2  เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ร่วมสมัยกับการดัดแปลงฐานพระปรางค์และส่วนของอาคารวิหารที่อยู่ชั้นบนของวิหารเก่า

แนะนำที่เที่ยวอยุธยา วัดส้ม จ.พระนครศรีอยุธยา

สรุปได้ว่าวัดส้มเป็นโบราณสถานที่เริ่มในราวพุทธศตวรรษที่ 19 และมีการบูรณะสืบเนื่องต่อกันมาจนถึงสมัยอยุธยาตอนปลาย วัดส้มมีสิ่งที่น่าศึกษามากมาย โดยเฉพาะการจัดระเบียบและกฎเกณฑ์ดั้งเดิมของลวดลายบนองค์ปรางค์ ที่ได้รับการอนุรักษ์สืบเนื่องกันมา โดยไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปทรงหรือตำแหน่งของลวดลายให้เป็นอื่น นอกจากรถลายที่วิวัฒนาการในตัวของมันเอง ทำให้ลวดลายบนองค์ปรางค์ทั้ง 4 ด้านผิดแผกกันไปตามความอิสระของช่างที่บูรณะในแต่ละยุคสมัย

 

เครดิตข้อมูล :หนังสือประวัติศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยว

โดย : กิตติ โล่ห์เพชรัตน์

แสดงความคิดเห็น