วัดบรมพุทธาราม จ.อยุธยา


วัดบรมพุทธาราม จ.อยุธยา ตั้งอยู่ทางใต้ของเกาะเมือง ใกล้มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา มีฐานะเป็นพระอารามหลวงฝ่ายคามวาสี ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาระบุว่าสมเด็จพระเพทราชา โปรดเกล้าให้สถาปนาวัดนี้ขึ้นในบริเวณย่านป่าตอง อันเป็นนิวาสสถานเดิมเมื่อปี พ.ศ 2232

วัดบรมพุทธาราม

โดยโปรดเกล้าให้สร้างกำแพงแก้ว พระอุโบสถ พระวิหารการเปรียญ เสนาสนะ กุฏิ วัดนี้ใช้เวลาสร้าง 2 ปีจึงแล้วเสร็จ เจ้าอธิการซึ่งนิมนต์เข้ามาอยู่นั้นตั้งให้เป็นพระราชาคณะชื่อพระญาณสมโพธิ​

วัดบรมพุทธาราม

ปัจจุบันพื้นที่ของวัดไม่ปรากฏแนวกำแพงเป็นขอบเขต ในส่วนพระอุโบสถ พระวิหาร และการเปรียญ มุงหลังคาด้วยกระเบื้องเคลือบทำให้แปลกใจกว่าวัดอื่น จึงเรียกกันว่าวัดกระเบื้องเคลือบ

การมุงหลังคากระเบื้องเคลือบสีเหลืองแกมเขียวนี้ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์โปรดเกล้าให้มุงหลังคาพระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญะมหาปราสาท ในพระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์และวิหารกลางในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุจังหวัดลพบุรี เมื่อครั้งสมเด็จพระเพทราชารับราชการเป็นเจ้ากรมช้าง ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์คงเห็นหลังคากระเบื้องเคลือบสีแบบนี้จึงโปรดเกล้าให้มุงหลังคากระเบื้องเคลือบที่วัดนี้

วัดบรมพุทธาราม

ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศมีหลักฐานว่าโปรดเกล้าให้บูรณะวัดนี้ครั้งหนึ่ง และโปรดเกล้าให้ทำบานประตูประดับมุก สำหรับพระอุโบสถเพิ่มขึ้น ต่อมามีการนำบานประตูมุกนี้ไปติดตั้งที่หอมณเฑียรธรรม(ประตูกลางด้านตะวันตก)​ ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามกรุงเทพคู่หนึ่ง

เครดิตภาพ : อักษรชนนี

บานประตูที่หอมณเฑียรธรรมนี้เป็น(บานประตูประดับมุกที่ได้รับการยกย่องให้เป็นงานฝีมือประดับมุกอันยอดเยี่ยม)​ ที่วัดเบญจมบพิตรกรุงเทพคู่หนึ่ง ส่วนอีกคู่หนึ่งมีผู้นำไปตัดทำเป็นตู้ใส่หนังสือตู้ใบนี้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ส่งได้มาและประทานแก่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร

เมื่อกรมศิลปากรได้ทำการขุดแต่งวัดบรมพุทธาราม ได้พบกระเบื้องเคลือบสีเหลืองรูปครุฑหน้าสิงห์ รูปเทพพนมเคลือบสีเหลืองแกมเขียวเดิมคงติด ประดับอยู่ที่พระเจดีย์ซุ้มประตูหน้าโบสถ์

วัดบรมพุทธาราม

โบราณสถาน ประกอบด้วยพระอุโบสถ ประธานของวัด ก่ออิฐถือปูนหันหน้าไปทางทิศเหนือ

วัดบรมพุทธาราม

มีการเจาะช่องหน้าต่างทุกห้อง

วัดบรมพุทธาราม

มีประตูด้านหน้า 3 ประตูด้านหลัง 2 ประตู

วัดบรมพุทธาราม

มีมุกหน้าหลังและมีซุ้มประตูปูนปั้น เป็นรูปพระจุฬามณี พระประธานเป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ก่ออิฐถือปูน

วัดบรมพุทธาราม

ฐานอาคารแอ่นโค้งแบบสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย สอดคล้องกับลักษณะของใบเสมา ที่เป็นใบเสมาหินทรายขนาดเล็ก   มีตัวเหงากระจกตรงเอวเสมา ที่ยังไม่เป็นกาบสูงเหมือนเสมารุ่นหลัง และมีแถบเส้นกลางขนาดใหญ่เท่าขอบเสมาแบบใบเสมาอยุธยาตอนปลายรุ่นแรก

รอบนอกพระอุโบสถ มีซากฐานตั้งใบเสมารวม 8 ใบ มีกำแพงรอบพระอุโบสถทั้ง 4 ด้าน มีประตูกำแพงด้านละ 2 ประตู
นอกจากนี้ยังมีการเจาะช่องรูกากบาทประดับบริเวณผนังกำแพงแก้ว ซึ่งพบมากในช่วงสมัยอยุธยาตอนปลาย
ภายนอกกำแพงแก้วด้านหน้าพระอุโบสถ มีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองอยู่ 2 องค์

นอกจากนี้ยังมีวิหารไม่ทราบลักษณะอาคารที่ชัดเจน เนื่องจากมีสภาพที่พังทลาย มีประตูใหญ่ด้านละ 1 ประตู ประตูด้านข้างใต้ 2 ประตู สันนิษฐานว่าอาจได้รับการสร้างเพิ่มเติมภายหลังและสมัยสมเด็จพระเพทราชา

จากการขุดแต่งก่อนบูรณะพบว่าสร้างซ้อนทับอยู่บนรากฐาน สันนิษฐานว่าวิหารหลังนี้มีบันไดขึ้นลงทางด้านข้าง ภายหลังการขุดตรวจบริเวณทิศเหนือ ยังพบพื้นลานวัดซึ่งเป็นอิฐลาดปูนโดยรอบภายหลังการเสียกรุงครั้งที่ 2 วัดบรมพุทธารามได้กลายเป็นวัดร้างจนถึงปัจจุบัน

เครดิตข้อมูล : หนังสือประวัติศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยวอยุธยา

 

แสดงความคิดเห็น