พระที่นั่งวิหารสมเด็จ แห่งพระราชวังหลวงกรุงศรีอยุธยาสร้างในสมัยพระมหากษัตริย์พระองค์ใดไม่ปรากฎ แต่สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในรัชกาลของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยมีบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับพระที่นั่งหลังนี้ตั้งแต่เป็นพระที่นั่งมังคลาภิเษกจนเปลี่ยนเป็นพระที่นั่งวิหารสมเด็จดังต่อไปนี้
รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ศักราช ๙๕๙ ปีระกา นพศก ( พ.ศ.๒๑๔๐ )
ราชบุตรนักพระสัตถาผู้เป็นพระเจ้าละแวก เมื่อสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ เสด็จไปปราบ ขณะเมื่อทหารข้าหลวง เข้าเมืองละแวกในเพลากลาง คืนนั้น ราชบุตรมาอยู่หน้าที่ ครั้นทัพไทยเข้าเมืองได้แล้ว ความกลัวก็มิได้ไปหาบิดา หนีออกจากหน้าที่กับบ่าวประมาณ ๓๐ คน เข้าป่า พากันหนีไปเถิงแดนเมืองล้านช้าง ครั้นรู้ว่ากองทัพหลวงเสด็จ พระราชดำเนินกลับไปกรุงพระมหานครศรีอยุธยาแล้ว พากันกลับมา ยังเมืองละแวก เสนาบดีเหลืออยู่กับสมณชีพราหมณ์อาณาประชาราษฎร จึงพร้อมกันยกพระราชบุตรท่านขึ้นราชาภิเศก เป็นพระเจ้าละแวก ครอบครองแผ่นดินแทนพระบิดา พระเจ้าละแวกครั้นได้ครองสิริราชสมบัติแล้ว ก็อุตส่าห์บำรุงสมณชีพราหมณาจารย์ โดยยุติธรรมราชประเพณีมาได้เดือนเศษ จึงตรัสปรึกษาเสนาบดีกวีมุขทั้งหลายว่า แต่ก่อนพระราชบิดาเราไปกระทำเสี้ยนหนามต่อกรุงพระมหานครศรีอยุธยา มิได้เกรงพระเดชเดชานุภาพสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ อันทรงอิศวรภาพ ดุจสุริยเทวบุตร จันทรเทวบุตร อันมีรัศมีสว่างทั่วโลกธาตุ ความพินาสฉิบหายจึงเถิงพระองค์และญาติประยุรวงศ์ในกรุงกัมพูชาธิบดี และครั้งนี้เราจะทำดุจพระบิดานั้นไม่ได้ จำจะอ่อนน้อม ขอเอาพระเดชเดชานุภาพ สมเด็จพระเจ้ากรุงเทพมหานครศรีอยุธยา เป็นที่พึ่งที่พำนักมีความสุขสวัสดีจะได้มีแก่เรา ท่านทั้งหลายจะเห็นประการใด เสนาบดีมนตรีมุขทั้งปวงกราบทูลว่า ซึ่งพระองค์ดำรัสนี้ สมควรนัก ขอพระราชทานให้แต่งดอกไม้ทองเงินเครื่องบรรณาการ มีพระราชสารไปอ่อนน้อม โดยราชประเพณีเมืองขึ้นเมืองออกกรุงเทพ มหานครแล้ว ศรีสวัสดิพิพัฒนมงคลก็บังเกิดมีไปตราบเท่ากัลปาวสาน พระเจ้าละแวกได้ฟังดังนั้นยินดีนัก จึงให้แต่งดอกไม้ทองเงิน จัดเครื่องราชบรรณาการเป็นอันมาก แล้วแต่งลักษณะราชสารให้ออกยาวงศาบดี
พระเสน่หามนตรี หลวงวรนายก เป็นทูตานุทูตจำทูลพระราชสาร คุมเครื่องมงคลราชบรรณาการมา ครั้นเถิงด่านปราจินบุรี กรมการก็ คุมทูตานุทูตเข้าไปยังกรุงเทพมหานคร เสนาบดีนำเอากิจจานุกิจ กราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ดำรัสให้เบิกทูตเฝ้าณมุขเด็จหน้าพระที่นั่งมังคลาภิเศก ตรัสพระราชปฏิสันถาร ๓ นัดแล้ว พระศรีภูริปรีชาก็อ่านพระราชสาร ในลักษณะนั้นว่า ข้าพระองค์ครองกรุงอินทปัตถ์กุรุรัตนราชธานี ขอถวายบังคมมาแทบพระวรบาทบงกชมาศ สมเด็จพระผู้จอมมงกุฎกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา มหาดิลกภพนพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์ มหาสถาน ด้วยพระบิดาข้าพระองค์มิได้รักษาขอบขันธเสมาโดย ราชประเพณี กระทำพาลทุจริตมิได้รู้จักกำลังตนกำลังท่าน มาก่อ ให้เกิดเป็นปรปักษ์แก่กรุงเทพพระมหานคร อุปมาดังจอมปลวกมาเคียงเข้าพระสิเนรุราชบรรพต มิดังนั้นดุจมิคชาติตัวน้อย องอาจ ยุทธนาด้วยพญาราชสีห์ อันมีมเหศรศักดานุภาพ ก็เถิงแก่การพินาศจากไอสุริยศวรรยานั้น ก็เพื่อผลกรรมอันได้ทำมาแต่ก่อน และข้า พระองค์ครองแผ่นดินเมืองละแวกครั้งนี้ จะได้เอาเยี่ยงอย่างพระบิดานั้นหามิได้ จะขอเอาพระเดชเดชานุภาพสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ปกเกล้าปกกระหม่อมดุจฉัตร์แก้วแห่งท้าวมหาพรหม อันมีปริมณฑลกว้างขวางร่มเย็นไปทั้งจักรวาฬ ข้าพระองค์ของถวายสุวรรณหิรัญรัตนมาลาบรรณาการ มาโดยราชประเพณี สืบไปตราบเท่ากัลปาวสาน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสได้ทรงฟัง ก็มีพระทัยเมตตาแก่พระ สุธรรมราชาพระเจ้าละแวกองค์ใหม่เป็นอันมากสั่งให้ตอบพระราช สารไปว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะได้อาฆาตจองเวรแก่ราชบุตรนัดดา นักพระสัตถาหามิได้ และซึ่งบิดาท่านเป็นไปจนเถิงการพิราลัยนั้น ก็เพื่อเวรานุเวรแต่อดีตติดตามมาให้ผลเห็นประจักษ์ และให้พระเจ้าละแวกองค์ใหม่นี้ ครอบครองไพร่ฟ้าประชาราษฎรโดยยุติธรรม ราชประเพณีพระมหากษัตราธิราชเจ้าแต่ก่อนนั้นเถิด และสั่งให้เจ้าพนักงานตอบเครื่องราชบรรณาการ และพระราชทานเสื้อผ้าเงินตรา แก่ทูตานุทูตโดยสมควร อยู่ ๓ วันทูตก็กราบถวายบังคมลาไปยัง กรุงกัมพูชาธิบดี
รัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถ
ศักราช ๙๖๗ สัปตศก (พ.ศ. ๒๑๔๘) ครั้นเสร็จเสด็จโดยทางชลมารค ลงมายัง พระตำหนักในป่าโมกนั้น พระบาทสมเด็จเอกาทศรฐอิศวร บรมนาถบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวก็มีพระบรมราชโองการตรัสสั่งแก่เจ้าพระยาธรรมาธิบดีให้ตกแต่งประดับประดาพระราชวังหลวง แลแต่งราชวัตฉัตรธงทั้งสองข้างชลมารค แต่พระตำหนักป่าโมกเท่าเถิงพระราชวังหลวง และให้ท้าวพระยาทั้งหลายตรวจจัดเรือแห่แหนทั้งปวงสรัพเสร็จ เถิงวันพฤหัสบดีเดือน ๙ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ปีมะเส็ง พระบาทสมเด็จเอกาทศรฐอิศวร บรมนาถพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็มีพระ ราชโองการตรัสให้พระราชครูทั้งสี่ แต่งการพระราชพิธีสงครามา ภิเศก แลให้เอาเรือพระที่นั่งชัยสุพรรณหงส์พยุหยาตรา อันประดับ ด้วยสรรพาลังการอันมเหาฬารมาบันทับขนาน แลเทียบเรือแห่หน้า หลังทั้งเสร็จ เถิงเพลารุ่งแล้วนาฬิกาหนึ่ง ได้ศุภโยคมังคโลดม เพลาฤกษ์อันประเสริฐ จึงพระโหราธิบดีศรีจันทรประภาษก็ลั่นฆ้องชัยพระราชปโรหิตจารย์ ราชสุภาวดีศรีบรมหงส์ องค์ปริโสดมพรหม ทิชาจารย์ เป่ามหาสังข์ทักขิณาวัฎ แลประโคมแตรสังข์ดุริยดนตรี ทั้งปวง พระบาทสมเด็จเอกาทศรฐอิศวร บรมนาถบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็เสด็จลงพระพิชัยสุพรรณหงส์พยุหาตรา แลมีพระราช ครูทั้งสี่ แลโหราธิบดีแพทยาธิบดี โดเสด็จเฝ้าพระบาทในหน้า พระที่นั่ง จึงให้ยกธงชัยโบกดบย คลายพระที่นั่งชัยสุพรรณหงส์ พยุหยาตราเสด็จออกจากขนาน ก็เสด็จโยชลมารคนทีธาร ดู มเหาฬารเรือต้นทั้งปวง ประดับด้วยเครื่องอลงกฎรจนาสรรพาการพิธีแลกอบด้วยเรือท้าวพระยามหาเสนาธิบดีทั้งปวง แห่โดยขะบวนหน้าหลังเดียรดาษ
พระบาทสมเด็จเอกาทศรฐอิศวร บรมนาถพิตรพระพุทธเจ้าอยู่ หัว ก็เสด็จเถิงบันทับขนานพระราชวังหลวง แล้วตีอินทเภรีเป็นประถมประโคมแตรสังข์ จึงเสด็จขึ้นพระราเชนทรยานพยุหยาตรา และประดับด้วยเศวตฉัตรสำหรับราชาภิเศก แลตีอินทเภรีเป็นทุติยวาร ก็เสด็จด้วยพระราเชนทรยานถึงอัฒจรรย์แห่งไพชยนตมหาปราสาท จึงตีอินทเภรีเป็นตติยวาร พระบาทสมเด็จเอกาทศรฐอิศวร บรมนาถบพิตรพระพุทธเจ้า อยู่หัว ก็เสด็จลงจากพระราชเชนทรยาน เสด็จในหน้าฆ้องชัยชำระ พระบาทเสร็จ เจ้าพระยาธรรมมาธิบดีก็ลั่นฆ้องชัยประโคนแตรสังข์ ดุริยดนตรีทั้งปวง จึงเสด็จขึ้นไพชยนตมหาปราสาท และเสด็จใน พระที่นั่งมังคลาภิเศกสีหบัญชร อันประดับด้วยเนาวรัตนชัชวาลย์ มีพระคชาธารพระยาสารอลงกฎสถิตทั้งซ้ายขวา ทั้งพวกพลโยธาทหาร ดั้งแห่ดาษดาโดยขนัด สรรพยุทธ์ทั้งปวงตั้งเป็นกระบวนประดับ ประดา จึงเบิกท้าวพระยาสามนตราช ราชตระกูลพฤฒามาตย์ มหาเสนาบดีทั้งปวง ถวายบังคมพระบาทสมเด็จเอกาทศรฐอิศวร บรมนาถบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว แลเบิกสมโภชเลี้ยงลูกขุน และ ถวายอาเศียรพาทสำหรับการพระราชพิธีพระนครประเวศนั้น
รัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
ศักราช ๙๙๘ ปีชวด อัฐศก (พ.ศ. ๒๑๗๙ ) สมเด็จพระเจ้า อยู่หัวให้รื้อเทวสถานพระอิศวร พระนารายน์ นั้นขึ้นมาตั้งยังชีกุน ในปีนั้นให้ยกกำแพงพระราชวังออกไป ให้สร้างพระมหาปราสาทพระวิหารสมเด็จ
คราศึกกลางเมืองสมเด็จพระศรีสุธรรมราชากับสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ศักราช ๑๐๑๗ ปีมะแมศก (พ.ศ. ๒๑๙๘ ) สมเด็จเจ้าฟ้าชัย เจ้าฟ้าชัยได้ครองราชสมบัติ ครั้นอยู่มาสมเด็จพระนารายน์เป็นเจ้า ก็ให้คนสอดออกมาคิดทำราชการพระศรีสุธรรมราชา ผู้เป็นพระเจ้าอา ๆ ก็กำหนดเข้าไป ครั้นเพลาค่ำพระนารายน์เป็น เจ้า ก็พาพระขนิษฐาพระองค์ลอบหนีออกทางประตูตัดสระแก้ว ไป หาพระเจ้าอา พระศรีสุธรรมราชากับพระนารายน์ราชนัดดา สุมผู้คนพร้อมแล้วก็ยกเข้ามาพระราชวัง กุมเอาเจ้าฟ้าชัยไปสำเร็จโทษเสีย ณ โคกพระยา พระศรีสุธรรมราชาก็ได้ผ่านพิภพกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา ตรัสให้สมเด็จพระนารายน์ราชนัดดาเป็นมหาอุปราช สมเด็จพระนารายน์เป็นเจ้าก็เสด็จไปอยู่พระราชวังบวรสถานมงคล อยู่มา ๒ เดือนเศษ สมเด็จพระศรีสุธรรมราชาเจ้าแผ่นดิน ทอดพระเนตรเห็นพระราชกัลยาณีน้องพระนารายน์ราชนัดดา ทรงพระรูปศรีวิลาศเลิศนารี ก็มีพระทัยเสน่หาผูกพันธ์ปราศจากลัชชีสมโภค จึงให้หาขึ้นไปบนที่ห้องจะร่วมรสสังวาสด้วยพระราชกัลยาณี ๆมิได้ขึ้นไป หนีลงมาพระตำหนักแล้วบอกเหตุกับพระสนมๆ จึงให้เชิญพระราชกัลยาณีเข้า ไว้ในตู้พระสมุด หามออกมาเสว่าจะเอาพระสมุดไปยังพระราชวังบวรสถานมงคล นายประตูก็มิได้สงสัย ครั้นไปเถิงพระราชวังบวร สถานมงคลแล้ว พระราชกัลยาณีก็ออกจากตู้เข้าไปเฝ้าสมเด็จพระเชษฐาธิราช ทรงพระกรรแสงทูลประพฤติเหตุทั้งปวง ซึ่งสมเด็จ พระเจ้าอาเป็นพาลทุจริต สมเด็จพระนารายน์บรมบพิตรเป็นเจ้า ได้ทรงฟังก็ทรงพระโทมนัศน้อยพระทัยนักจึงตรัสว่า อนิจจาพระเจ้าอาเรานี้ คิดว่าสมเด็จพระปิตุราชสวรรคตแล้ว ยังแต่พระเจ้าอาก็เหมือนหนึ่งพระบรมราชบิดายังอยู่ จะปกป้องราชวงศานุวงศ์สืบไป ควรหรือมาเป็นได้ดังนี้ พระองค์ปราศจากหิริโอตัปปะแล้ว ไหนจะครองสมบัติ เป็นยุติธรรมเล่า หน้าที่จะร้อนอกสมณชีพรหมณ์ อาณาประชา ราษฎรไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินเป็นแท้ จะละไว้มิได้ ด้วยพระองค์ก่อแล้วจำจะสานตามเถิด จะเสี่ยงเอาบารมีเป็นที่พึ่ง ทรงพระราชดำริแล้ว จึงให้หาขุนนางเข้ามาในพระราชวัง ตรัสแจ้งพฤติเหตุซึ่งจะทำ ยุทธ์นั้น ขุนนางทั้งหลายได้แจ้งในรับสั่งดังนั้น ต่างคนก็ทูล อาษาขอเอาชีวิตเป็นแดนแทนพระคุณทุกคน สมเด็จพระนารายน์ เป็นเจ้าได้ทรงฟัง มีพระทัยปราโมทยิ่งนัก ตรัสให้กระทำมงคลแดง ใส่รี้พลทั้งปวงเป็นสำคัญ แล้วให้เอาใบสะเดาเป็นประเจียดสำหรับเมื่อ จะยุทธ์นั้น เพราะเหตุว่าสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาธิราชไซร้ พระชนม์ว่าร้อนสุกร แลใบสะเดานั้นเป็นนามพุฒ แลสุกรไซร้สิ้นกำลังใน พุฒนาม เพื่อจะประหารนามแห่งอริราช ครั้นแล้วสมเด็จบรม บพิตรพระเป็นเจ้าก็ให้สักการบูชาพระศรีรัตนตรัยแลพระอิศวรพระนารายน์เป็นเจ้าแลเทพยดาผู้มีฤทธิศักดิ์ทั้งปวง ดำรัสสั่ง ขุนเสนาชัย ขุนจันทราเทพ ขุนทิพมนตรี ขุนเทพมนตรี ขุนสิทธิ์ คชรักษ์ ขุนเทพศรีธรรมรัตน์ ให้คุมไพร่พล ๑๐๐ อยู่รักษา พระราชวังบวรสุถานมงคล ในวันพฤหัสบดีเดือน ๑๒ ขึ้น ๑๐ ค่ำเพลาชายแล้ว ๕ นาฬิกา เศษ สมเด็จบรมบพิตรพระเป็นเจ้าก็แต่งพระองค์สรัพสำหรับการ พิชัยยุทธ์ จึงทรงพระษิโณทกอธิฐานแล้วก็เสด็จทรงช้างต้นพลาย มงคลไอยรา ตรัสให้พระเทพเดชเป็นกลางช้างพระที่นั่ง ขุน พศรีควาญ แลตรัสให้สมเด็จพระอินทราชาธิราช ผู้เป็นพระอนุชา ทรงช้างต้นพังกระพัดทอง ขุนพรหมธิบาลเป็นกลางช้างพระที่นั่ง หมื่นเทพกุญชรควาญ ตรัสให้เมืองมโนรมย์ขี่ช้างต้นพลายพรหมพักตร์นายไทยมหาดเล็กเป็นกลางช้าง นายปรางควาญ หมื่นราชกุญชร ขี่ช้างต้นพังตลับหน้าช้างพระที่นั่ง ครั้นได้ศุภวารมหุดิฤกษ์เพลาอันประเสริฐ ก็เสด็จกรีธาพลพยุหยาตรา สรัพด้วยเครื่องราโชปโภค และประโคมฆ้องกลองแตรสังข์ จึงเสด็จพระราชดำเนินโดยทวารพิพิธยาตราไปโดยทางหน้าวัดพลับพลาชัย จึงพระยาเสนาภิมุข พระยา ไชยาสุระ คุมยี่ปุ่น ๔๐ มากราบถวายบังคมทูลขออาษาราชการ
และหลวงพิชิตเดชะออกมากราบบังคมจะขออาษาราชการ แล้วเสด็จ พระราชดำเนินโดยทางชีกุน ฝ่ายสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาธิราช รู้ว่าสมเด็จบรมบพิตร พระเป็นเจ้า เสด็จยกเข้ามาแต่พระราชวังบวรสถานมงคล ก็สั่งแก่ พระมหาเทพ หลวงอินทรเดชะ ให้เอาขุนบำเรอภักดิ์ แลอ้ายมั่นผู้ ทาษขุนบำเรอภักดิ์ ไปพิฆาตเสียหน้าบางตรา แลขุนบำเรอภักดีก็ หนีรอด จึงไปกราบบังคมทูลสมเด็จบรมบพิตรพระเป็นเจ้าเถิงหน้าวัดฉัททันต์ ได้แต่อ้ายมั่นทาษขุนบำเรอภักดิ์นั้นไปพิฆาตเสีย และ สมเด็จบรมบพิตรพระเป็นเจ้า มาหยุดช้างต้นณหน้าพระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนตมหาปราสาท ก็เสด็จขึ้นอยู่ณพระที่นั่งจักรวรรดิ พระยา อนันทะกะยอสุ พระยาอนันทะกะยอถ่าง มากราบถวายบังคม จึง ตรัสใช้พระยาอนันทะกะยอสู พระยาอนันทกะยอถ่าง พระยาราชมนตรี หลวงโยธาทิพ หลวงอมรวงศา หลวงพิชิตเดชะ ขุนตรัด ขุนทรงพาณิช ขุนสนิทวาที มิริยาฝัน เมาลามักเมาะตาด คุมไพร่พลให้ไปอยู่ณด้านหน้าศาลาลูกขุนให้ราญาลีลาคุมหมู่ ๔ ตอน แลแขกชวาแขกจาม อยู่ณด้านหน้าพระที่นั่งสรรเพ็ชรปราสาท ให้หลวงเทพอรชุนคุมไพร่พลอยู่ประตูศรีสรรพทวาร ให้พระจุลา พระพนังคุมไพร่พลอยู่ทางสระแก้ว หลวงวิสุทธิ์สงครามแลขุนพรหมธิบาล คุมไพร่สารวัตรอยู่หลังวัดพระรามาวาศ ให้ขุนพรหมภิบาลคุมไพร่พลสารวัตร แต่ประตูแสดงจนเถิงประตูหอพระ และฝ่ายไพร่พลข้างสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาธิราช และไพร่พลข้างสมเด็จบรมบพิตร
พระเป็นเจ้าก็ได้รบพุ่งกันแต่ค่ำจนรุ่ง แลยี่ปุ่นคุมกันเข้ามาอาษา ได้เข้า ช่วยรบพุ่งณด่านราญาลีลานั้น ฟันไพร่พลล้มตายบาดเจ็บทั้งสองฝ่ายจึงสมเด็จบรมบพิตรพระเป็นเจ้า ตรัสสั่งให้ขุนจันทราเทพ และ พันเทพราช เอาปืนใหญ่ ๓ บอก ตั้งณท้องท้องสนามยิงเข้าไปใน พระราชวังเป็นหลายนัด ครั้นยิงเข้าไปครั้งใด ควันเพลิงนั้นเห็นโชติ ขึ้นไปประดุจฉัตรสำแดงศุภนิมิตรซึ่งจะมีชัยชำนะ จึงสมเด็จบรมบพิตรพระเป็นเจ้าทรงช้างต้นพระที่นั่ง ตรัสสั่งให้พระเทพเดชะเป็นกลาง ช้างพระที่นั่ง ขุนพศรีควาญ ให้ขุนอินทรธิบาลเป็นกลางช้างสมเด็จพระอนุชาธิราช หมื่นเทพกุญชรควาญ แลเสด็จยืนช้างต้นอยู่ณหน้าพระที่นั่งจักรรวรรดิ ครั้นเพลาชายแล้วประมาณนาฬิกาเศษ มีผู้ มากราบทูลสมเด็จบรมบพิตรพระเป็นเจ้าว่า สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา ธิราช ทรงช้างออกมายืนอยู่ณหลังศาลาลูกขุน จึงสมเด็จบรมบพิตรพระเป็นเจ้า ก็ขับช้างพระที่นั่งเข้าไปเถิงนอกกำแพงหน้าศาลาลูกขุนไพร่พลทังสองฝ่ายได้รบพีงต่อแย้งกัน แลทหารอาษาฝ่ายสมเด็จบรมบพิตรพระเป็นเจ้า ก็ยิงปืนนกสับต้องพระพาหุสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาธิราช ฝ่ายทหารสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาธิราช ก็ยิงปืน นกสับไปต้องพระบาทซ้ายสมเด็จบรมบพิตรพระเป็นเจ้าเผินไป หน่อยหนึ่ง แลสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาธิราชก็กลับช้างเข้าไปใน พระราชวัง ไพร่พลฝ่ายข้างสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาธิราช ก็ แตกฉานซ่านเซ็นหนีเข้าไปในพระราชวัง แล้วไปปิดประตูพระราชวังไว้จึงสมเด็จบรมบพิตรพระเป็นเจ้า ก็เสด็จคืนมายังพระที่นั่งจักรวรรดิ
จึงพระไตรภูวนาธิราชเสด็จทรงช้างออกมาแต่ในพระราชวัง ก็มา กราบถวายบังคมสมเด็จบรมบพิตรพระเป็นเจ้า จึงตรัสใช้ให้ทหาร อาษาคุมกันไปทำลายประตูพระราชวังเข้าไปให้ได้ และทหารอาษา ทั้งปวงก็เข้าไปเถิงประตูพลทวาร ก็กระทุ้งประตูพลทวาร พอพระ สิทธิชัยเปิดประตูพลทวารออกมาบอกว่า สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา ธิราชหนีลงไปณวังหลังแล้ว ทหารก็กรูกันเข้าไปในพระราชวัง ได้ นายแก้วก็นำพระสิทธิชัยออกมาถวายบังคมสมเด็จบรมบพิตร พระเป็นเจ้าณพระที่นั่งจักรวรรดิ แลนายแก้วมหาดเล็กกราบทูลสมเด็จบรมบพิตรพระเป็นเจ้าว่า ทหารอาษาเข้าไปในพระราชวังได้แล้ว และพระสิทธิชัยบอกว่าสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาธิราชหนีลงไปวังหลัง จึง สมเด็จบรมบพิตรพระเป็นเจ้าเสด็จเข้าไปในพระราชวังหลวง เสด็จขึ้นพระราชมนเฑียรพระวิหารสมเด็จ ในวันเดียวนั้นเสนาบดีก็ไปตามสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาธิราชได้ณวังหลัง ก็ให้ไปสำเร็จโทษ ณ โคกพระยาตามประเวณี พระศรีสุธรรมราชาธิราชเสวยราชได้ ๒ เดือนกับ ๒๐ วัน
แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
ศักราช ๑๐๙๗ ปีเถาะสัปตศก (พ.ศ. ๒๒๗๘ )
แล้วนักพระแก้วฟ้าณกรุงกัมพูชาธิบดีให้มีศุภอักษร มาว่า กองช้างไปโพนช้างคล้องได้ช้างพังเผือกช้างหนึ่ง สูง ๓ ศอก ๗ นิ้ว จะขอพระทานถวาย อัครมหาเสนาธิบดีจึงเอาลักษณะศุภอักษรกราบ บังคมทูลพระกรุณา พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธอยู่หัวทรงทราบแล้ว จึงมีพระราชโองการมานพระบันทูลสุรสิงหนาทสั่งอัคร มหาเสนาธิบดี ให้แต่งข้าหลวงแลกรมช้างออกไปรับมา ข้าหลวง แลกรมช้างกราบถวายบังคมลาไป ครั้นเถิงกรุงกัมพูชาธิบดีแล้ว นักพระแก้วฟ้าแต่งพระยาพระเขมรให้คุมช้างเข้ามาส่ง ๓ คน ยกมา แต่เมืองกัมพูชาธบดี เดือนหนึ่งกับ ๒๐ วัน มาเถิงศาลาบ่อโพง แล้วจึงให้แห่แหนมาณโรงปลูกไว้สำหรับณวัดนางเลิ้ง แล้วให้ทำขวัญและมีการสมโภช ๓ วัน แล้วทรงพระกรุณาสั่งให้ขนานชื่อว่า พระวิเชียนหัสดินทร์ วรินทรเลิศฟ้า ครั้นถ้วนคำรบ ๓ วันแล้ว ให้นำเรือขนาน มีเรือคู่ชักแห่แหน แตรสังข์ฆ้องกลองธงเทียวเข้ามา ครั้นเถิงให้ นำขึ้นไว้ณโรงช้างพระที่นั่งพระวิหารสมเด็จ แล้วพระราชทานเสื้อผ้า ให้พระยาเขมรซึ่งเข้ามาส่งช้าง ๓ คนนั้นแล้ว พระราชทานพรรณ ผ้าแพรให้พระยาพระเขมรคุมเอาไปพระราชทานนักพระแก้วฟ้าด้วย ทำพระที่นั่งสรรเพ็ชญ์ปราสาท๑๐ เดือน จึงแล้วเก่านั้น แต่หุ้มดีบุกหาปิดทองไม่ รื้อทำใหม่ ทรงพระกรุณาสั่งให้ปิดทองยอดและ ช่อฟ้าบานลมเชิงกลอนดอกจอกด้วย แลพระที่นั่งบรรยงก์รัตนาศน์ชำรุดรั่วหนัก จึงทรงพระกรุณาสั่งให้รื้อลงปรุงใหม่ ทำได้ ๖ เดือน แล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม สั่งให้ปรุง เครื่องบนพระที่นั่งสุริยามินทร์ขึ้นใหม่ ทำ ๘ เดือนจึงแล้ว ทรง พระกรุณาสั่งให้ปิดทองด้วย
ครั้นเดือน ๕ ปีระกาตรีศก (จ.ศ. ๑๑๐๓ พ.ศ. ๒๒๘๔ ) พระราชโกษาบ้านวัดระฆังกราบทูลว่า จะขอให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอกรมขุนเสนาพิทักษ์ เป็นกรมพระราชวัง จึงดำรัสให้ปรึกษาอัครมหาเสนาทั้งปวง ครั้นพร้อมกันเห็นควรแล้ว พระเจ้าอยู่หัวก็โปรดให้ เจ้า ฟ้ากรมขุนเสนาพิทักษ์ ดำรงฐานาศักดิ์อุปราชโดยประเพณี แล้วทรงพระกรุณาสั่งกรมพระราชวัง ให้ปฏิสังขรณ์วัดศรีสรรเพ็ชญ์ ขึ้นใหม่ อนึ่งพระเศียรพระพุทธรูปพระสมุงคลบพิตร ซึ่งหักลงตั้งอยู่นั้นให้ยกขึ้นต่อเสีย พระวิหารนั้น อย่าให้ทำเป็นมณฑปเลย ให้ทำ เป็นหลังคาเหมือนวิหารทั้งปวง ทำอยู่ปีเศษจึงสำเร็จทั้งสองวัด และพระที่นั่งพระวิหารสมเด็จชำรุด ทรงพระกรุณาสั่งกรมพระราชวัง ให้รื้อลงทำใหม่ ๑๐ เดือน จึงสำเร็จ วัดพระรามชำรุด ให้ปฎิสังขรณ์ ปีเศษจึงสำเร็จ
คำให้การชาวกรุงเก่าระบุว่า ปราสาทราชมนเฑียร
ภายในพระราชวัง มีพระราชมนเฑียรเป็นปราสาท ๓ องค์ พระที่นั่งวิหารสมเด็จอยู่ข้างใต้ พระที่นั่งสรรเพชญ์ปราสาทอยู่กลาง พระที่นั่งสริยามรินทร์อยู่ข้างเหนือ ในพระมหาปราสาททั้งสามหลังนี้ มีราชบัลลังก์ใหญ่อยู่ข้างในองค์ ๑ มีราชบัลลังก์น้อยอยู่ที่มุขเด็จองค์ ๑
พระมหาปราสาท กว้างขนาดขื่อ ๔ วา สูง ๒๕ วา ยอดเป็นพรหมพักตร์เหนือพรหมพักตร์ขึ้นไปมีฉัตรปิดทอง ๕ ชั้น หลังคาพระมหาปราสาทมุงด้วยกระเบื้องดีบุก พระมหาปราสาทองค์อื่นมีมุขยาวไปข้างตะวันตกตะวันออกแต่ ๒ มุข แต่พระที่นั่งสุริยามรินทร์นั้นเป็นจตุรมุข คือมุขทิศเหนือทิศใต้อีก ๒ มุขไม่มีมุขเด็จมุขกระสันตั้งพระราชบัลลังก์ข้างในตรงกลาง
พระมหาปราสาททั้งปวงนี้ ฝาก่อด้วยอิฐ ที่ซุ้มพระแกลแลเครื่องบนปิดทอง ส่วนสูงต่ำของพระมหาปราสาททั้ง ๓ องค์นี้เท่าๆกัน
คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรมระบุว่า
พระที่นั่งวิหารสมเด็จมหาปราสาทมียอดปรางห้ายอดหลังคามุงดีบุกยอดหุ้มดีบุกปิดทอง เป็นปราสาทสำคัญในพระนคร เป็นที่บุษยาภิเษกพระมหากษัตริย์แต่ก่อนมา มีมุขโถงยาวออกมาจากองค์ ที่มุขโถงนั้นมียอดมณฑปต่างหากจากองค์ปราสาทใหญ่ ในมุขโถงนั้นมีพระแท่นมณฑปตามแว่นฟ้าเป็นพระที่นั่งตั้งในมุขโถง ต่อน่าพระที่นั่งวิหารสมเด็จมหาปราสาทออกมามีทิมดาบคตซ้ายขวามีกำแพงแก้วสูงสองศอกล้อมรอบพระมหาปราสาท ซึ่งชานชาลาพระมหาปราสาทนั้นปูศิลาอ่อน มีเสาโคมทำด้วยศิลาจีนตั้งอยู่ ๘ ทิศ มีสิงห์สิลาแลรูปภาพจีนตั้งเรียงรายไปตามชานชาลาพระมหาปราสาท
ระหว่างพระมหาปราสาทสรรเพชญ์แลวิหารสมเด็จนั้น มีถนนแลประตูออกหน้าพระมหาปราสาท สำหรับแห่พระเจ้าลูกยาเธอออกไปโสกันต์แลลงสรง ชื่อประตูพิมานมงคลศาลาลวด ๑ ในท้องสนามหน้าพระมหาปราสาททั้งสองนั้น มีโรงคชาธารสี่โรง มีซุ้มยอดทั้งสี่โรง มีโรงม้าพระที่นั่งเป็นโรงม้าเทศ โรงหนึ่งสี่ห้องไว้ห้องละม้า ท้ายโรงม้าเทศมีพระคลังเครื่องท้าต้นสำหรับยืนให้แขกเมืองดูพระคลังหนึ่ง ต่อนั้นไปมีพระคลังมหาสมบัติไว้เงินพระราชทรัพย์แผ่นดิน มีโรงช่างทำรูปเงินตราอยู่ในกำแพงล้อมพระมหาสมบัติ มีกำแพงคั่นท้องสนามหน้าพระลานทิศเหนือ แลมีประตูซุ้มยอดสำหรับแห่พระเจ้าลูกเธอในพระราชพิธีลงสรง จึ่งเปิด ชื่อประตูไชยมงคลไตรภพชยนต์ ๑ มีประตูช่องกุตโคหาออกไปประตูเสาธงไชย ชื่อประตูช่องกุตโคหา ๑ มีกำแพงคั่นน่าสนามน่าพระที่นั่งสุริยามะรินทร์มหาปราสาท แล้วมีประตูที่กำแพงคั่นนั้นประตูไพชยนต์ทวาร ๑ มีทิมดาบชาววังอยู่ซ้ายฃวา ทิมดาบตำรวจในอยู่ข้างซ้าย นอกประตูไพชยนต์ทะวารนี้มีโรงพระโอสถ ๑ มีโรงพระราชยานหมู่พนักงานกันเจียกอยู่โรง ๑ มีโรงพรมเสื่อพวกสนมรักษาโรง ๑ มีโรงจีนช่าง(สะนะ)สำหรับเย็บเสื้อผ้าโรง ๑ มีโรงช่างสะนะไทสำหรับเย็บม่านแลผ้าต่างๆ โรง ๑ มีโรงช้างเผือกพังมีซุ้มยอดโรง ๑ มีกำแพงคั่นสวนไพชยนต์เบญจรัตน์ไปลงพระคลังมหาสมบัติ
ว่าด้วยสิ่งซึ่งเป็นหลักเป็นประธานเป็นศรีพระนคร
อนึ่งสิ่งซึ่งเป็นหลักเป็นประธานพระนคร แลเป็นสิ่งเฉลิมพระเกียรติยศกรุงศรีอยุธยานั้นคือพระที่นั่งมหาปราสาท ยอดปรางค์ ๓ องค์ ยอดมณฑป ๑๑ องค์ รวมเป็น ๑๔ องค์ เป็นพระราชมณเฑียรของพระเจ้าแผ่นดินทุกพระองค์สืบมา พระมหาปราสาทยอดปรางค์สามองค์นั้นคือพระที่นั่งมังคลาภิเษกมหาปราสาท องค์ ๑ นี้เดิมมียอดปรางค์ห้ายอด ภายหลังเพลิงไหม้จึงทำใหม่เปลี่ยนนามว่าพระที่นั่งวิหารสมเด็จพระมหาปราสาทองค์ ๑ แลพระที่นั่งไพฑูรย์มหาปราสาท มียอดปรางค์ยอดเดียวองค์ ๑ ทั้งสององค์นี้อยู่ในพระราชวังหลวง กับพระที่นั่งพระนครหลวง ปราสาทยอดปรางค์ยอดเดียวเป็นที่ประทับร้อนแรมอยู่นอกพระนครทิศตะวันออกเป็นกลางย่านไปพระพุทธบาทองค์ ๑
แลพระที่นั่งมหาปราสาทยอดมณฑป ๑๑ องค์นั้นคือพระที่นั่งสรรเพชญ์มหาปราสาท มียอดมณฑปเก้ายอดองค์ ๑ พระที่นั่งเบญจรัตน์มหาปราสาท มียอดมณฑปห้ายอดองค์ ๑ พระที่นั่งสุริยามรินทรมหาปราสาทมียอดมณฑปห้ายอดองค์ ๑ พระที่นั่งจักรวรรดิ์ไพชยนต์มหาปราสาท มียอดมณฑปยอดเดียวองค์ ๑ พระที่นั่งไพชยนต์มหาปราสาท มียอดมณฑปยอดเดียวองค์ ๑ พระที่นั่งไอศวรรย์มหาปราสาทยอดมณฑปยอดเดียวองค์ ๑ พระที่นั่งคชประเวศมหาปราสาท มียอดมณฑปยอดเดียวพระที่นั่งองค์นี้อยู่นอกพระนคร ที่พะเนียดจับช้างองค์ ๑ พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาศน์มหาปราสาท มียอดมณฑปยอดเดียวเป็นที่ประทับร้อนแรมอยู่ที่พระราชฐานเกาะบางประอินนอกพระนครด้านทิศใต้องค์ ๑ พระที่นั่งสุทไธศวรรย์มหาปราสาทมียอดมณฑปยอดเดียวองค์ ๑ พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท มียอดมณฑปยอดเดียว สององค์นี้เป็นที่ประทับร้อนแรมอยู่ในพระราชฐานที่เมืองลพบุรี เป็นที่ประทับนอกพระนครศรีอยุธยารวมมหาปราสาทในกรุงเก้าองค์ นอกกรุงห้าองค์ รวมทั้งสิ้นเป็นสิบสี่องค์ เป็นที่ทรงประทับของพระเจ้าแผ่นดินทุกพระองค์
ภูมิสถาน และตำนานกรุงเก่า
พระวิหารสมเด็จ กับพระที่นั่งสรรเพ็ชญ์มหาปราสาท ๒ องค์นี้มีกำแพงแก้ว และในกำแพงแก้วพื้นลานหน้าพระที่นั่งสรรเพ็ชญ์ปูอิฐเกรียงปูน ข้างขวาพบแนวทิมดาบยังพอเห็นรูปดีอยู่ แต่ข้างซ้ายขุดกันเสียจนย่อยยับไม่เป็นรูปร่าง ในคราวที่ขุดวังทำปราสาทเป็นที่บำเพ็ญพระราชกุศลคครั้งนี้ เห็นว่าพื้นอิฐลานหน้าพระที่นั่ง มีเป็นหย่อมเป็นตอนลุ่มๆดอนๆไม่เสมอกัน ครั้งจะเอาพื้นเดิมไว้ก็ไม่น่าดูแลอะไร จึงได้ถมดินเกลี่ยให้เรียบแล้วปลูกหญ้าเป็นสนาม เพราะฉะนั้นขอให้ท่านผู้อ่านพึงสังเกตว่าสนามหญ้านั้นเป็นของที่ทำในครั้งนี้ จะได้เคยมีมาแต่ครั้งกรุงเก่ายังเป็นเมืองหลวงหามิได้
และพระที่นั่งทั้ง ๒ องค์นี้เห็นกันว่าเดิมจะมีมุขยาวแต่มุขหน้าด้านเดียว มุขหลังมุขข้างสั้น ภายหลังมาก่อเพิ่มเติมต่อมุขหลังให้ยาวออกไป รอยที่ก่อต่อก็ยังเห็นปรากฏอยู่ ถัดมุขมุขกลางออกมา มีโรงช้างเผือกข้างละโรง คงจะเป็นโรงที่เรียกโรงยอด หลังโรงช้างเผือกมีกำแพงสะกัดต่อจากกำแพงแก้วพระที่นั่งสรรเพ็ชญ์ ไปชนกำแพงเเก้วพระวิหารสมเด็จ ในกำแพงแก้วสะกัดเข้าไปตอนที่ใกล้ข้างพระที่นั่งสรรเพ็ชญ์ มีที่น้ำขังก่ออิฐถือปูนกว้าง ๖ ศอก ๔ เหลี่ยม มุมข้างล่างมีท่อทองแดงที่สำหรับจะไขเปิดปิดน้ำได้ ต่อไปข้างพระวิหารสมเด็จข้างซ้ายมีพระที่นั่งอีกองค์หนึ่งยาวเกือบครึ่งพระวิหารสมเด็จ ก่อเป็นห้องหับชอบกล และมีบ่อน้ำกลมอยู่ที่ข้างผนังด้านเหนือด้วยบางทีก็จะสำหรับขังน้ำฝน ข้างขวาตอนถัดมุมมุขพระที่นั่งออกไปก็มีพระที่นั่งอีกองค์หนึ่ง แต่ย่อมกว่าองค์ข้างซ้ายตรงระหว่างด้านหลังพระที่นั่งสรรเพ็ชญ์ กับพระวิหารสมเด็จไปทางตะวันออก ขุดพบรากพระที่นั่งหมู่หนึ่งก่อฐานอิฐพื้นปูอิฐหน้าวัวลดหลั่นหลายชั้น มีเสาไม้เเก่นรายเรียงเป็นระยะกันไป เข้าใจว่าจะเป็นพระราชมนเฑียรสถาน
เครดิตข้อมูล : เพจประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา