อาณาจักรอยุธยา
เป็นอาณาจักรของชนชาติไทยในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วง
พ.ศ. 1893 ถึง พ.ศ. 2310 มีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางอำนาจหรือราชธานี ทั้งยังมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับหลายชาติจนถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการค้าในระดับนานาชาติ เช่น จีน เวียดนาม อินเดียญี่ปุ่น เปอร์เซีย รวมทั้งชาติตะวันตก เช่น โปรตุเกส สเปน เนเธอร์แลนด์ (ฮอลันดา) และฝรั่งเศส ซึ่งในช่วงเวลาหนึ่งเคยสามารถขยายอาณาเขตประเทศราชถึงรัฐฉานของพม่า อาณาจักรล้านนา มณฑลยูนนาน อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรขอม และคาบสมุทรมลายูในปัจจุบัน
กรุงศรีอยุธยา
เป็นเกาะซึ่งมีแม่น้ำสามสายล้อมรอบ ได้แก่ แม่น้ำป่าสักทางทิศตะวันออก, แม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศตะวันตกและทิศใต้ และแม่น้ำลพบุรีทางทิศเหนือ เดิมทีบริเวณนี้ไม่ได้มีสภาพเป็นเกาะ แต่สมเด็จพระเจ้าอู่ทองทรงดำริให้ขุดคูเชื่อมแม่น้ำทั้งสามสาย เพื่อให้เป็นปราการธรรมชาติป้องกันข้าศึก ที่ตั้งกรุงศรีอยุธยายังอยู่ห่างจากอ่าวไทยไม่มากนัก ทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการค้ากับชาวต่างประเทศ และอาจถือว่าเป็น “เมืองท่าตอนใน” เนื่องจากเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของภูมิภาค มีสินค้ากว่า 40 ชนิดจากสงครามและรัฐบรรณาการ แม้ว่าตัวเมืองจะไม่ติดทะเลก็ตาม
มีการประเมินว่า ราว พ.ศ. 2143 กรุงศรีอยุธยามีประชากรประมาณ 300,000 คน และอาจสูงถึง 1,000,000 คน ราว พ.ศ. 2243 บางครั้งมีผู้เรียกกรุงศรีอยุธยาว่า “เวนิสแห่งตะวันออก”
ปัจจุบันบริเวณนี้เป็นส่วนหนึ่งของอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พื้นที่ที่เคยเป็นเมืองหลวงของไทยนั้น คือ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ตัวนครปัจจุบันถูกตั้งขึ้นใหม่ห่างจากกรุงเก่าไปเพียงไม่กี่กิโลเมตร
ประวัติ
การกำเนิดอาณาจักรอยุธยาที่ได้รับการยอมรับกว้างขวางที่สุดนั้น อธิบายว่า รัฐไทยซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เจริญขึ้นมาจากราชอาณาจักรละโว้ (ซึ่งขณะนั้นอยู่ใต้การควบคุมของขะแมร์) และอาณาจักรสุพรรณภูมิ แหล่งข้อมูลหนึ่งระบุว่า กลางคริสต์ศตวรรษที่ 14 เพราะภัยโรคระบาดคุกคาม สมเด็จพระเจ้าอู่ทองจึงทรงย้ายราชสำนักลงไปทางใต้ ยังที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงอันอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำเจ้าพระยา บนเกาะที่ล้อมรอบด้วยแม่น้ำ ซึ่งในอดีตเคยเป็นนครท่าเรือเดินทะเล ชื่อ อโยธยา (Ayothaya) หรือ อโยธยาศรีรามเทพนคร นครใหม่นี้ถูกขนานนามว่า กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา ซึ่งภายหลังมักเรียกว่า กรุงศรีอยุธยา แปลว่า นครที่ไม่อาจทำลายได้
พระบริหารเทพธานี อธิบายว่า ชาวไทยเริ่มตั้งถิ่นฐานบริเวณตอนกลาง และตอนล่างของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18 แล้ว ทั้งยังเคยเป็นที่ตั้งของเมืองสังขบุรี อโยธยา เสนาราชนคร และกัมโพชนคร ต่อมา ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 19 อาณาจักรขอมและสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลง พระเจ้าอู่ทองทรงดำริจะย้ายเมืองและก่อสร้างเมืองขึ้นมาใหม่โดยส่งคณะช่างก่อสร้างไปยังอินเดียและได้ลอกเลียนแบบผังเมืองอโยธยามาสร้างและสถาปนาให้มีชื่อว่า กรุงศรีอยุธยา
การขยายอาณาเขต
เมื่อถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 อยุธยาก็ถูกพิจารณาว่าเป็น ชาติมหาอำนาจแข็งแกร่งที่สุดในอุษาคเนย์แผ่นดินใหญ่ และได้เริ่มครองความเป็นใหญ่โดยเริ่มจากการพิชิตราชอาณาจักรและนครรัฐทางเหนือ อย่างสุโขทัย กำแพงเพชรและพิษณุโลก ก่อนสิ้นสุดคริสต์ศตวรรษที่ 15 อยุธยาโจมตีเมืองพระนคร (อังกอร์) ซึ่งเป็นมหาอำนาจของภูมิภาคในอดีต อิทธิพลของอังกอร์ค่อย ๆ จางหายไปจากลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และอยุธยากลายมาเป็นมหาอำนาจใหม่แทน
อย่างไรก็ดี ราชอาณาจักรอยุธยามิได้เป็นรัฐที่รวมเป็นหน่วยเดียวกัน หากเป็นการปะติดปะต่อกันของอาณาเขต (principality) ที่ปกครองตนเอง และประเทศราชที่สวามิภักดิ์ต่อพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาภายใต้ปริมณฑลแห่งอำนาจ (Circle of Power) หรือระบบมณฑล (mandala) ดังที่นักวิชาการบางฝ่ายเสนอ อาณาเขตเหล่านี้อาจปกครองโดยพระบรมวงศานุวงศ์กรุงศรีอยุธยา หรือผู้ปกครองท้องถิ่นที่มีกองทัพอิสระของตนเอง ที่มีหน้าที่ให้การสนับสนุนแก่เมืองหลวงยามสงคราม ก็ได้ อย่างไรก็ดี มีหลักฐานว่า บางครั้งที่เกิดการกบฏท้องถิ่นที่นำโดยเจ้าหรือพระมหากษัตริย์ท้องถิ่นขึ้นเพื่อตั้งตนเป็นเอกราช อยุธยาก็จำต้องปราบปราม
ด้วยไร้ซึ่งกฎการสืบราชสันติวงศ์และมโนทัศน์คุณธรรมนิยม (meritocracy) อันรุนแรง ทำให้เมื่อใดก็ตามที่การสืบราชสันติวงศ์เป็นที่พิพาท เจ้าปกครองหัวเมืองหรือผู้สูงศักดิ์ (dignitary) ที่ทรงอำนาจจะอ้างคุณความดีของตนรวบรวมไพร่พลและยกทัพมายังเมืองหลวงเพื่อกดดันตามข้อเรียกร้อง จนลงเอยด้วยรัฐประหารอันนองเลือดหลายครั้ง
ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 อยุธยาแสดงความสนใจในคาบสมุทรมลายู ที่ซึ่งมะละกาเมืองท่าสำคัญ ประชันความเป็นใหญ่ อยุธยาพยายามยกทัพไปตีมะละกาหลายครั้ง แต่ไร้ผล มะละกามีความเข้มแข็งทั้งทางการทูตและทางเศรษฐกิจ ด้วยได้รับการสนับสนุนทางทหารจากราชวงศ์หมิงของจีน ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 แม่ทัพเรือเจิ้งเหอแห่งราชวงศ์หมิง ได้สถาปนาฐานปฏิบัติการแห่งหนึ่งของเขาขึ้นที่มะละกา เป็นเหตุให้จีนไม่อาจยอมสูญเสียตำแหน่งยุทธศาสตร์นี้แก่รัฐอื่น ๆ ภายใต้การคุ้มครองนี้ มะละกาจึงเจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นหนึ่งในคู่แข่งทางการค้าที่ยิ่งใหญ่ของอยุธยา กระทั่งถูกโปรตุเกสพิชิตเมื่อ พ.ศ. 2054
การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง
เริ่มตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 ราชอาณาจักรอยุธยาถูกราชวงศ์ตองอูโจมตีหลายครั้ง สงครามครั้งแรกคือ สงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ เมื่อ พ.ศ. 2091-92 แต่ล้มเหลว การรุกรานครั้งที่สองของราชวงศ์ตองอู หรือเรียกว่า “สงครามช้างเผือก”สมัยพระมหาจักรพรรดิ เมื่อ พ.ศ. 2106 พระเจ้าบุเรงนองทรงบังคับให้สมเด็จพระมหาจักรพรรดิยอมจำนน พระบรมวงศานุวงศ์ทรงถูกพาไปยังกรุงอังวะ และสมเด็จพระมหิทรา พระราชโอรสองค์โต ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าประเทศราช เมื่อ พ.ศ. 2111 ราชวงศ์ตองอูรุกรานอีกเป็นครั้งที่สาม และสามารถยึดกรุงศรีอยุธยาได้ในปีต่อมา หนนี้พระเจ้าบุเรงนองทรงแต่งตั้งสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเป็นเจ้าประเทศราช
การฟื้นตัว
หลังพระเจ้าบุเรงนองเสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 2124 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศเอกราชแก่กรุงศรีอยุธยาอีกสามปีให้หลัง อยุธยาต่อสู้ป้องกันการรุกรานของรัฐหงสาวดีหลายครั้ง จนในครั้งสุดท้าย สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงปลงพระชนม์เมงจีสวา (Mingyi Swa) อุปราชาของราชวงศ์ตองอูได้ในสงครามยุทธหัตถีเมื่อ พ.ศ. 2135 จากนั้น อยุธยากลับเป็นฝ่ายบุกบ้าง โดยยึดชายฝั่งตะนาวศรีทั้งหมดขึ้นไปจนถึงเมาะตะมะใน พ.ศ. 2138 และล้านนาใน พ.ศ. 2145 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงถึงกับรุกรานเข้าไปในพม่าลึกถึงตองอูใน พ.ศ. 2143 แต่ทรงถูกขับกลับมา หลังสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 2148 ตะนาวศรีตอนเหนือและล้านนาก็ตกเป็นของรัฐอังวะ อีกใน พ.ศ. 2157 อยุธยาพยายามยึดรัฐล้านนาและตะนาวศรีตอนเหนือกลับคืนระหว่าง พ.ศ. 2205-07 แต่ล้มเหลว
การค้าขายกับต่างชาติไม่เพียงแต่ให้อยุธยามีสินค้าฟุ่มเฟือยเท่านั้น แต่ยังได้รับอาวุธยุทโธปกรณ์ใหม่ ๆ ด้วย กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 ระหว่างรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อยุธยามีความเจริญรุ่งเรืองมาก แต่ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 อยุธยาค่อย ๆ สูญเสียการควบคุมเหนือหัวเมืองรอบนอก ผู้ว่าราชการท้องถิ่นใช้อำนาจของตนอย่างอิสระ และเริ่มเกิดการกบฏต่อเมืองหลวงขึ้น
การล่มสลาย
หลังจากยุคสมัยอันนองเลือดแห่งการต่อสู้ของราชวงศ์ กรุงศรีอยุธยาเข้าสู่ “ยุคทอง” สมัยที่ค่อนข้างสงบในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 18 เมื่อศิลปะ วรรณกรรมและการเรียนรู้เฟื่องฟู ยังมีสงครามกับต่างชาติ กรุงศรีอยุธยาสู้รบกับเจ้าเหงียน (Nguyễn Lords) ซึ่งเป็นผู้ปกครองเวียดนามใต้ เพื่อการควบคุมกัมพูชา เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2258 แต่ภัยคุกคามที่ใหญ่กว่ามาจากราชวงศ์อลองพญาซึ่งได้ผนวกรัฐฉานเข้ามาอยู่ในอำนาจ
ช่วง 50 ปีสุดท้ายของราชอาณาจักรมีการสู้รบอันนองเลือดระหว่างเจ้านาย โดยมีพระราชบัลลังก์เป็นเป้าหมายหลัก เกิดการกวาดล้างข้าราชสำนักและแม่ทัพนายกองที่มีความสามารถตามมา สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้าย บังคับให้สมเด็จเจ้าฟ้าอุทุมพร พระอนุชา ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์อยู่ขณะนั้น สละราชสมบัติและขึ้นครองราชย์แทน
พ.ศ. 2303 พระเจ้าอลองพญา ทรงยกทัพรุกรานอาณาจักรอยุธยา หลังจากอยุธยาว่างเว้นศึกภายนอกมานานกว่า 150 ปี จะมีก็เพียงการนำไพร่พลเข้าต่อตีกันเองเพื่อแย่งชิงอำนาจเท่านั้น ซึ่งในขณะนั้น อยุธยาเกิดการแย่งชิงบัลลังก์ระหว่างเจ้าฟ้าเอกทัศกับเจ้าฟ้าอุทุมพร อย่างไรก็ดี พระเจ้าอลองพญาไม่อาจหักเอากรุงศรีอยุธยาได้ในการทัพครั้งนั้น
แต่ใน พ.ศ. 2308 พระเจ้ามังระ พระราชโอรสแห่งพระเจ้าอลองพญา ทรงแบ่งกำลังออกเป็นสองส่วน และเตรียมการกว่าสามปี มุ่งเข้าตีอาณาจักรอยุธยาพร้อมกันทั้งสองด้าน ฝ่ายอยุธยาต้านทานการล้อมของทัพพม่าไว้ได้ 14 เดือน แต่ก็ไม่อาจหยุดยั้งการกองทัพรัฐอังวะได้ เนื่องจากมีกำลังมาก และต้องการทำลายศูนย์อำนาจอย่างอยุธยาลงเพื่อป้องกันการกลับมามีอำนาจ อีกทั้งกองทัพอังวะยังติดศึกกับจีนราชวงศ์ชิงอยู่เนือง ๆ หากปล่อยให้เกิดการสู้รบยืดเยื้อต่อไปอีก ก็จะเป็นภัยแก่อังวะ และมีสงครามไม่จบสิ้น ในที่สุดกองทัพอังวะสามารถหักเข้าพระนครได้ในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310
พระมหากษัตริย์
พระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยา มี 5 ราชวงศ์ คือ
- ราชวงศ์อู่ทอง มีกษัตริย์ 3 พระองค์
- ราชวงศ์สุพรรณภูมิ มีกษัตริย์ 13 พระองค์
- ราชวงศ์สุโขทัย มีกษัตริย์ 7 พระองค์
- ราชวงศ์ปราสาททอง มีกษัตริย์ 4 พระองค์
- ราชวงศ์บ้านพลูหลวง มีกษัตริย์ 6 พระองค์
รวมมีพระมหากษัตริย์ทั้งสิ้น 33 พระองค์
พระราชวังโบราณ อยุธยา
พระราชวังโบราณ อยุธยา คือ พระราชวังหลวง ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ประวัติ
เมื่อ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยา ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1893 พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ สร้างพระที่นั่ง 3 องค์ ได้แก่ พระที่นั่งไพฑูรย์มหาปราสาท พระที่นั่งไพชยนต์มหาปราสาท และ พระที่นั่งไอศวรรย์มหาปราสาท ในเขตวัดพระศรีสรรเพชญ์ในปัจจุบัน และ ยังโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งมังคลาภิเษกมหาปราสาทและพระที่นั่งตรีมุขด้วย พระราชวังระยะแรกนี้ เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ 7 พระองค์ เป็นเวลา 98 ปี
ครั้นเมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติเมื่อ พ.ศ. 1991 ทรงยกบริเวณพระราชวังเดิม ได้แก่ พระที่นั่ง 3 องค์นั้น ให้เป็นพุทธาวาส หรือก็คือวัดพระศรีสรรเพชญ์ แล้วจึงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายพระราชวังมาสร้างใหม่ทางด้านเหนือของพระราชวังเดิม ใกล้แม่น้ำลพบุรี คูเมืองด้านเหนือ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งเบญจรัตนมหาปราสาทและพระที่นั่งสรรเพชญ์มหาปราสาท เป็นพระที่นั่ง 2 องค์แรก
มีพระที่นั่งอีกองค์หนึ่งซึ่งสร้างในเขตนี้ แต่ไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าสร้างในรัชสมัยใด ก็คือ พระที่นั่งมังคลาภิเษก หรือพระที่นั่งวิหารสมเด็จพระมหาปราสาท 3 องค์นี้ เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ 16 พระองค์ เป็นเวลา 182 ปี
ในสมัยของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ทรงขยายให้วังหลวงกล้างขวางมากขึ้นกว่าเดิม โดยให้เขตพระราชวังไปเชื่อมติดกับ วัดพระศรีสรรเพชญ์ แล้วก็โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระมหาปราสาทเพิ่มอีก 2 องค์ คือพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ และ พระที่นั่งจักรวรรดิ์ไพชยนต์
ต่อมาในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงสร้างพระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์ขึ้นเป็นที่ประทับอีกองค์หนึ่ง ดังนั้นวังหลวงสมัยอยุธยาตอนปลายมี พระมหาปราสาทรวมทั้งสิ้น ๖ องค์ เป็นที่ประทับของ พระมหากษัตริย์ 10 พระองค์ เป็นเวลา 137 ปี จนเสียกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 2310
พระบรมมหาราชวังในกรุงเทพมหานครนั้น ได้สร้างเลียนแบบพระบรมมหาราชวังในกรุงศรีอยุธยา
พื้นที่
พระบรมมหาราชวังระยะหลังนั้น มีป้อมรอบพระราชวัง 8 ป้อม ประตูน้ำ 2 ประตู ประตูบก 20 ประตู พระราชวังหลวงแบ่งออกเป็นเขตต่างๆ ดังนี้บริเวณเขตพระราชฐานชั้นนอก ไกลๆคือเขตพระราชฐานชั้นกลางแบบแปลนพระราชวังโบราณในศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา องค์ใกล้สุดคือพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ และอีกพระที่นั่งองค์ใหญ่อีก ๒ องค์เขตพระราชฐานชั้นนอก เป็นที่ตั้งของ พระที่นั่งจักรวรรดิ์ไพชยนต์ และส่วนราชการต่าง ๆ เช่น ศาลาลูกขุน ศาลหลวง ศาลาสารบัญชี เป็นต้น
เขตพระราชฐานชั้นกลาง เป็นที่ตั้งของพระมหาปราสาท 3 หลัง ได้แก่ พระที่นั่งวิหารสมเด็จ พระที่นั่งสรรเพชญ์มหาปราสาท พระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของคลังมหาสมบัติ โรงช้าง โรงม้า เป็นต้น
เขตพระราชฐานชั้นใน เป็นที่ตั้งของพระที่นั่งบรรยงค์รัตนาสน์ โรงเครื่องต้น และที่อยู่ของฝ่ายใน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี
พระที่นั่งตรีมุข ในปัจจุบันพบเป็นซากฐาน เมื่อครั้นสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงให้สร้างพลับพลาตรีมุข เพื่อประกอบพระราชพิธีบวงสรวงบรรพกษัตริย์ในวาระที่พระองค์ครองราชย์ครบ 40 ปี เมื่อ พ.ศ. 2451 ซึ่งเป็นเวลายาวนานเท่ากับพระบรมไตรโลกนาถ แห่งกรุงศรีอยุธยา[1]
สวนไพชยนต์เบญจรัตน์ อันเป็นที่ตั้งของพระคลังมหาสมบัติ ได้แก่ คลังศุภรัตน์ คลังพิมาณอากาศ คลังวิเศษ โรงราชรถ คลังแสง เป็นต้น เช่นเดียวกับหอพระเทพบิดร และหอพระมณเฑียรธรรม
สวนองุ่น เป็นสวนหลวงประจำพระราชวัง มีตำหนักสระแก้ว ตำหนักสวนกระต่าย และตำหนักศาลาลวดตั้งอยู่ บริเวณนี้
วัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดหลวงประจำพระราชวัง
เหตุการณ์สำคัญในอาณาจักรอยุธยา
พ.ศ. 1893
- สมเด็จพระเจ้าอู่ทองทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และทรงสถาปนาชื่อเมืองว่า กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา
พ.ศ. 1912
- สมเด็จพระเจ้าอู่ทองเสด็จสวรรคต
- สมเด็จพระราเมศวรเสด็จขึ้นครองราชย์
พ.ศ. 1913
- สมเด็จพระราเมศวรทรงสละราชสมบัติให้ขุนหลวงพะงั่ว
พ.ศ. 1931
- ขุนหลวงพะงั่วเสด็จสวรรคต
- สมเด็จพระเจ้าทองลันเสด็จขึ้นครองราชย์
- สมเด็จพระราเมศวรสำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้าทองลันแล้วเสด็จขึ้นครองราชย์ครั้งที่2
พ.ศ. 1981
- เจ้าสามพระยาทรงผนวกกรุงสุโขทัยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกรุงศรีอยุธยา
พ.ศ. 1991
- สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จขึ้นครองราชย์
พ.ศ. 2112
- กรุงศรีอยุธยาเสียกรุงครั้งที่1สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกอบกู้เอกราชครั้งที่1
- สมเด็จพระมหินทราธิราชเสด็จสวรรคต
- สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเสด็จขึ้นครองราชย์และสถาปนาราชวงศ์สุโขทัย
พ.ศ. 2127
- สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพ ที่เมือง แครง
พ.ศ. 2133
- สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเสด็จสวรรคต
- สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จขึ้นครองราชย์
พ.ศ. 2135
- สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาได้รับชัยชนะ
พ.ศ. 2148
- สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จสวรรคต
- สมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จขึ้นครองราชย์
พ.ศ. 2231
- สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จสวรรคต
- สมเด็จพระเพทราชาเสด็จขึ้นครองราชย์และสถาปนาราชวงศ์บ้านพลูหลวง
พ.ศ. 2277
- สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 22 มีนาคม
พ.ศ. 2279
- พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 มีนาคม
พ.ศ. 2301
- สมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา
พ.ศ. 2310
- พม่าตีกรุงศรีอยุธยาแตกในปลายรัชกาล
- พระยาวชิรปราการสามารถต่อสู้เอาชนะข้าศึกได้สำเร็จกอบกู้เอกราชครั้งที่2ได้สำเร็จ ทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ เฉลิมพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและโปรดเกล้าฯให้ย้ายราชธานีมาตั้งอยู่ที่กรุงธนบุรีและสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี
- สิ้นสุดราชธานีกรุงศรีอยุธยา เมื่อ 7 เมษายน
อ้างอิง
- http://www.ayutthaya.org/
- ดนัย ไชยโยธา. (2543). พัฒนาการของมนุษย์กับอารยธรรมในราชอาณาจักรไทย เล่ม ๑. โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์. หน้า 305.
- ชนิดา ศักดิ์ศิริสัมพันธ์. (2542). ท่องเที่ยวไทย. บริษัท สำนักพิมพ์หน้าต่างสู่โลกกว้าง จำกัด. ISBN 974-86261-9-9. หน้า 40.
- Hooker, Virginia Matheson (2003). A Short History of Malaysia: Linking East and West. St Leonards, New South Wales, Australia: Allen and Unwin. p. 72. ISBN 1864489553. สืบค้นเมื่อ 2009-07-05.
- George Modelski, World Cities: –3000 to 2000, Washington DC: FAROS 2000, 2003. ISBN 978-0-9676230-1-6. See also Evolutionary World Politics Homepage.
- “Ayutthaya, Thailand’s historic city”. The Times Of India. 2008-07-31.
- Derick Garnier (2004). Ayutthaya: Venice of the East. River books. ISBN 974-8225-60-7.
- “Ayutthaya Historical Park”. Asia’s World Publishing Limited. สืบค้นเมื่อ 2011-09-22.
- “The Tai Kingdom of Ayutthaya”. The Nation: Thailand’s World. 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-06-28.
- พระบริหารเทพธานี. (2541). ประวัติศาสตร์ไทย เล่ม ๒. โสภณการพิมพ์. หน้า 67.
- Higham 1989, p. 355
- “The Aytthaya Era, 1350–1767”. U. S. Library of Congress. สืบค้นเมื่อ 2009-07-25.
- Jin, Shaoqing (2005). Office of the People’s Goverernment of Fujian Province, ed. Zheng He’s voyages down the western seas. Fujian, China: China Intercontinental Press. p. 58. สืบค้นเมื่อ 2009-08-02.
- Lt. Gen. Sir Arthur P. Phayre (1883). History of Burma (1967 ed.). London: Susil Gupta. p. 111.
- GE Harvey (1925). History of Burma. London: Frank Cass & Co. Ltd. pp. 167–170.
- Phayre, pp. 127–130
- Phayre, p. 139
- Wyatt 2003, pp. 90–121
- Christopher John Baker, Pasuk PhongpaichitA history of Thailand. Cambridge University Press. สืบค้นเมื่อ 13-12-2552. p. 22
- โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. หน้า 5.
- โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. หน้า 6.
- โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. หน้า 7.
- โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. หน้า 9.
- โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. หน้า 10.
- โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. หน้า 11.
- “The Economy and Economic Changes”. The Ayutthaya Administration. Department of Provincial Administration. สืบค้นเมื่อ 2010-01-30.
- Tome Pires. The Suma Oriental of Tome Pires. London, The Hakluyt Society,1944, p.107
- “Ayutthaya”. Mahidol University. November 1, 2002. สืบค้นเมื่อ 2009-11-01.
- โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. หน้า 12.
- โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. หน้า 13.
- “Background Note: Thailand”. U.S. Department of State. July 2009. Archived from the original on 4 November 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-11-08.
- Ring, Trudy; Robert M. Salkin (1995). International Dictionary of Historic Places: Asia and Oceania 5. Sharon La Boda. Chicago: Fitzroy Dearborn Publishers. p. 56. ISBN [[Special:BookSources/18844964044|18844964044[[หมวดหมู่:บทความที่มีเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือไม่ถูกต้อง]]]] Check
|isbn=
value (help). สืบค้นเมื่อ 2009-12-10. - Simon de La Loubère, “The Kingdom of Siam” (Oxford Univ Press, 1986) (1693), p. 49
- La Loubère (1693), at 49
- James Low, “On Siamese Literature” (1839), p. 177|url=http://www.siamese-heritage.org/jsspdf/2001/JSS_095_0i_Smyth_JamesLowOnSiameseLiterature.pdf
- มร.เดอะ ลาลูแบรฺ. จดหมายเหตุลาลูแบรฺฉบับสมบูรณ์, เล่มที่ 1, แปล สันต์ ท. โกมลบุตร. พระนคร:ก้าวหน้า. 2510, หน้า 46
- มร.เดอะ ลาลูแบรฺ. จดหมายเหตุลาลูแบรฺฉบับสมบูรณ์, หน้า 47
- Anthony Reid, South East Asia in the Age of Commerce: Expansion and Crisis (1988), p.71-73
- สุจิตต์ วงษ์เทศ. อักษรไทยมาจากไหน?. หน้า 128
- สุจิตต์ วงษ์เทศ. อักษรไทยมาจากไหน?. หน้า 130
- มร.เดอะ ลาลูแบรฺ. จดหมายเหตุลาลูแบรฺฉบับสมบูรณ์, หน้า 45
- Simon de La Loubère, The Kingdom of Siam (Oxford Univ. Press 1986) (1693), at 9
- La Loubère (1693), p.10
- La Loubère (1693), p.10
- สุจิตต์ วงษ์เทศ. อักษรไทยมาจากไหน?. หน้า 129
- สุจิตต์ วงษ์เทศ. กรุงเทพฯ มาจากไหน?. หน้า 188
- สุภรณ์ โอเจริญ. ชาวมอญในประเทศไทย:วิเคราะห์ฐานะและบทบาทในสังคมไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลางจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พ.ศ. 2519), หน้า 48-68
- พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันทานุมาศ (เจิม) กับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) . พระนคร:คลังวิทยา, 2507, หน้า 145 และ 403
- พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันทานุมาศ (เจิม) กับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) , หน้า 446
- พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันทานุมาศ (เจิม) กับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) , หน้า 463
- นิโกลาส์ แชรแวส. ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม (ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช) . แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร. พระนคร:ก้าวหน้า, 2506, หน้า 62
- ประชุมพงศาวดารภาคที่ 36 ฉบับหอสมุดแห่งชาติ, เล่ม 9. พระนคร:ก้าวหน้า, 2507, หน้า 150
- พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันทานุมาศ (เจิม) กับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด), หน้า 507-508
- สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. ไทยรบพม่า. พระนคร:คลังวิทยา, 2514. หน้า 235-237
- บังอร ปิยะพันธุ์, หน้า 11
- บาทหลวงตาชารด์, แปล สันต์ ท. โกมลบุตร. จดหมายเหตุการเดินทางสู่ประเทศสยามของบาทหลวงตาชาร์ด. กรุงเทพฯ:กรมศิลปากร, 2517, หน้า 46
- เซอร์จอห์น เบาริง แปล นันทนา ตันติเวสส์. หน้า 73
- พลับพลึง มูลศิลป์. ความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศสสมัยกรุงศรีอยุธยา, กรุงเทพฯ:บรรณกิจ, 2523. หน้า 72
- เซอร์จอห์น เบาริง แปล นันทนา ตันติเวสส์. หน้า 95-115
- สุภัตรา ภูมิประภาส. นางออสุต:เมียลับผู้ทรงอิทธิพลแห่งการค้าเมืองสยาม. ในศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 30 ฉบับที่ 11 กันยายน 2552 กรุงเทพ:สำนักพิมพ์มติชน,2552. หน้า 93
- ภาสกร วงศ์ตาวัน. ไพร่ ขุนนาง เจ้า แย่งชิงบัลลังก์สมัยอยุธยา. กรุงเทพฯ:ยิปซี, หน้า 80
- ไกรฤกษ์ นานา. 500 ปี สายสัมพันธ์สองแผ่นดินไทย-โปรตุเกส. กรุงเทพฯ : มติชน, 2553 หน้า 126
- สุจิตต์ วงษ์เทศ. กรุงเทพฯ มาจากไหน?, หน้า 190
- Liberman (2003), “Strange Parallel Southeast Asia in Global Context c. 800 – 1830, Vol. 1”, at 313-314
- Liberman (2003), Strange Parallel Southeast Asia in Global Context, at 324
- Van Vliet (1692), “Description of the Kingdom of Siam” (L.F. Van Ravenswaay trans.), at 82
- Liberman (2003), “Strange Parallel Southeast Asia in Global Context”, at 329-330
- สุจิตต์ วงษ์เทศ. อักษรไทยมาจากไหน?. หน้า 132
- สุจิตต์ วงษ์เทศ. อักษรไทยมาจากไหน?. หน้า 133
- สุจิตต์ วงษ์เทศ. อักษรไทยมาจากไหน?. หน้า 130
- สุดารา สุจฉายา. ประวัติศาสตร์เก็บตกที่อิหร่านย้อนรอยสายสัมพันธ์ไทย-อิหร่าน. กรุ่นกลิ่นอารยธรรมเปอร์เซียในเมืองสยาม. กรุงเทพฯ : มติชน, 2550. หน้า 144
- อาทิตย์ ทรงกลด. เรื่องลับเขมรที่คนไทยควรรู้. กรุงเทพฯ:สยามบันทึก, 2552, หน้า 106
- โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. หน้า 14.
- Donald Frederick Lach, Edwin J. Van Kley, “Asia in the making of Europe”, pp. 520–521, University of Chicago Press, 1994, ISBN 978-0-226-46731-3
- “The Beginning of Relations with Buropean Nations and Japan (sic)”. Thai Ministry of Foreign Affairs. 2006. สืบค้นเมื่อ 2010-02-11.
- Smithies, Michael (2002). Three military accounts of the 1688 “Revolution” in Siam. Bangkok: Orchid Press. pp. 12, 100, 183. ISBN 974-524-005-2.
- https://th.wikipedia.org/wiki//เหตุการณ์สำคัญในอาณาจักรอยุธยา
- อยุธยา Discovering Ayutthaya หน้า 62-65
- วิไลรัตน์. 2546. กรุงศรีอยุธยา. อมรินทร์พริ้นติ้ง
- เครดิตภาพ http://oknation.nationtv.tv/blog/voranai/2008/06/10/entry-1