อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา


อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

บุพเพสันนิวาส

กรุงศรีอยุธยาอดีตราชธานีที่มีอายุยืนยาวที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทยคือ 417 ปีมีพระมหากษัตริย์ปกครองจำนวนทั้งหมด 33 รัชกาล เป็นศูนย์กลางการค้านานาชาติ ที่มั่งคั่งที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นศูนย์กลางทางศิลปวัฒนธรรม การเมืองการปกครอง

ในช่วงระยะเวลาอันยาวนานของกรุงศรีอยุธยานี้ บรรพชนของไทยได้สร้างสรรค์ศิลปกรรม สถาปัตยกรรมต่าง ๆ ไว้เป็นอนุสรณ์มากมาย ปรากฏเป็นโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและมรดกทางวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่า มีพื้นที่โบราณสถานทั้งสิ้นประมาณ 3,000 ไร่ โดยกรมศิลปากรได้ดำเนินการอนุรักษ์โบราณสถานเมืองพระนครศรีอยุธยาภายใต้ชื่อ โครงการอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

ภายในอุทยานประวัติศาสตร์ ประกอบด้วย โบราณสถานเท่าที่สำรวจพบแล้ว ทั้งภายในเมือง และนอกกำแพงเมืองมีจำนวนมากกว่า 425 แห่ง

———————————————————————–

เมื่อปี พ.ศ. 2478 กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานหลายแห่งในเกาะรอบเมืองพระนครศรีอยุธยาเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ รวม 69 แห่ง

ต่อมาในสมัยของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม จึงได้เริ่มโครงการบูรณะพระที่นั่ง และวัดต่างๆ โดยมีกรมศิลปากรเป็นผู้ดูแล

ปี พ.ศ. 2512 ได้มีโครงการชื่อ โครงการสำรวจขุดแต่งและบูรณะปรับปรุงโบราณสถาน โดยมีความพยายามที่จะประสานงานร่วมมือกับองค์กรต่างๆ ในอันที่จะอนุรักษ์เมืองประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาไว้

ในที่สุด พ.ศ. 2519 ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างของงานชิ้นใหม่ แล้วจัดทำโครงการอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาขึ้น และเริ่มทำการบูรณะปรับปรุงโบราณสถานเป็นต้นมาตั้งแต่ พ.ศ. 2520 และในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 15 ปี พ.ศ. 2534 ณ เมืองคาร์เธจ ประเทศตูนิเซีย นครประวัติศาสคร์พระนครศรีอยุธยา พร้อมด้วยเมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร(อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร) และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก

ขอบเขตของอุทยานประวัติศาสตร์
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยามีขอบเขตพื้นที่ตามประกาศกรมศิล ปากร เรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน รวมพื้นที่ทั้งสิ้นราว 3,000 ไร่ โดยได้มีการกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานครั้งแรกในปี พ.ศ. 2519 รวมพื้นที่ประมาณ 1,810 ไร่ [3] โดยในเขตที่ดินโบราณสถานดังกล่าว มีโบราณสถานที่สำคัญ ดังนี้

พระราชวังโบราณ
วัดพระศรีสรรเพชญ์
วัดมหาธาตุ
วัดราชบูรณะ
วัดพระราม
วิหารพระมงคลบพิตร

ต่อมา ในปี พ.ศ. 2540 กรมศิลปากรได้ประกาศกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานพระนครศรีอยุธยาเพิ่มเติม ซึ่งครอบคลุมเกาะเมืองอยุธยาและพื้นที่รอบนอกเกาะเมืองทุกด้านที่ปรากฏหลักฐานด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี โดยมีจุดประสงค์เพื่อทำการอนุรักษ์และพัฒนาให้เหมาะสมกับการที่นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาได้รับยกย่องให้เป็นมรดกโลก [4] ซึ่งในเขตที่ดินเพิ่มเติมนี้ มีโบราณสถานที่สำคัญ อาทิ

พระราชวังจันทรเกษม
วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร
วัดโลกยสุธาราม
วัดธรรมิกราช
วัดเสนาสนารามราชวรวิหาร
วัดสวนหลวงสบสวรรค์
กำแพงและป้อมปราการกรุงเก่า
วัดไชยวัฒนาราม
วัดพุทไธศวรรย์
วัดหน้าพระเมรุ
วัดใหญ่ชัยมงคล
วัดกษัตราธิราชวรวิหาร
วัดพนัญเชิง
วัดกุฎีดาว
วัดดุสิดาราม
วัดภูเขาทอง
วัดพระยาแมน
หมู่บ้านโปรตุเกส
หมู่บ้านฮอลันดา
หมู่บ้านญี่ปุ่น
เพนียดคล้องช้าง
โบสถ์นักบุญยอแซฟ เป็นต้น

ทั้งนี้ เขตที่ดินโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก คือเขตที่ดินในส่วนก่อนมีประกาศกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานพระนครศรีอยุธยาเพิ่มเติมในปี พ.ศ. 2540 เท่านั้น เนื่องจากไม่ได้มีการเสนอขอขยายเขตที่ดินตามประกาศกำหนดเขตที่ดินโบราณเพิ่มเติมให้เป็นมรดกโลก

———————————————————————-

เมื่อปี พ.ศ. 2525 และต่อมาในปี พ.ศ. 2534 อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม พร้อมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร จากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO)

เหตุผลที่ได้รับคัดเลือกเป็นมรดกโลก

อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาได้จดทะเบียนเป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโกภายใต้ชื่อ “นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร” ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 15 เมื่อปี พ.ศ. 2534 ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์พิจารณาให้เป็นมรดกโลก ดังนี้

– เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว

ที่มา กรมศิลปากร

แสดงความคิดเห็น