วัดพระศรีสรรเพชญ์ ตั้งอยู่ในเขตตำบลประตูชัย สร้างขึ้นในบริเวณ ที่เป็นพระราชวังหลวงในวัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่๑ (พระเจ้าอู่ทอง)ถึงแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พ.ศ. ๑๙๙๑ ทรงย้ายพระราชวังไปสร้างใหม่ทางด้านเหนือริมแม่น้ำลพบุรี และยกบริเวณพระราชวังเดิมให้เป็นพุทธาวาสของวัดพระศรีสรรเพชญ์ เพื่อใช้เป็นสถานที่ให้พระมหากษัตริย์งประกอบพระราชพิธีทางศาสนาทั้งส่วนพระองค์และพระบรมราชวงศ์รวมทั้งพระราชพิธีอื่นๆ ของรัฐ เช่น พระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาเพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ และเป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของพระมหากษัตริย์และพระอัฐิของพระบรมวงศานุวงศ์
ภายในวัดประกอบด้วยโบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่ เจดีย์ทรงระมังกลมขนาดใหญ่ ๓ องค์ เป็นประธานของวัด
เป็นเจดีย์ที่บรรจุพระบรมอัฐิสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (องค์ที่ ๑ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก)
และพระบรมอัฐิสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ (องค์ที่ ๒ ตรงกลาง)ซึ่งสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๐๕ ส่วนเจดีย์อีกยงค์หนึ่งนั้น (องค์ที่ ๓ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตก) เป็นเจดีย์ที่บรรจุพระบรมอัฐิสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ซึ่งสมเด็จพระบรมราชาหน่อ พุทธางกูรโปรดให้สร้างขึ้นในภายหลัง
ทางด้านทิศตะวันออกของเจดีย์ประธานแต่ละองค์มีมณฑป ซึ่งอาจจะประดิษฐานพระพุทธรูปทุกองค์ แต่ภายในมณฑปประจำเจดีย์องค์แรกเคยพบรอยพระพุทธบาทประดิษฐานอยู่ด้วย
พระวิหารหลวงเป็นที่สำหรับประกอบพระราชพิธีของพระมหากษัตริย์ ภายในสถานพระศรีสรรเพชซึ่งเป็นพระพุทธรูปยืนสูง ๘ วา หุ้มทองคำ เมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยา พม่าได้เอาไฟสุมลอกเอาทองคำไปหมดเหลือเฉพาะแกนในซึ่งเป็นสำริด พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬา-โลกมหาราช โปรดให้เชิญไปประดิษฐานไว้ภายในเจดีย์ศรีสรรเพชญดาญาน ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพฯ
ทางด้านหลังของเจดีย์ประธานมีมณฑปจตุรมุบ สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย ราวรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปสี่อิริยาบถ คือ นั่ง นอน ยืน และเดิน
ปัจจุบันเหลือเฉพาะพระพุทธรูปนังอยู่ใน มุขตะวันออก กลางมณฑปนั้นเป็นที่ตั้งของสถูปข้างๆ สถูปทั้ง ด้านเจาะช่อง
ไว้หลายช่อง สันนิษฐานว่าเป็นช่องบรรจุอัฐิ
พระเจดีย์รายภายในวัดทั้งหมดล้วนแต่สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระอัฐิพระบรมวงศานุวงศ์ พระยาโบราณราชธานินทร์ ได้เคยขุดพบพระโกศอัฐิในเจดีย์รายหลายองค์ และที่มีวิหารคั่นอยู่ด้วยหลังหนึ่งนั้นสำหรับเป็นที่บำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทาน